วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ปูนิ่ม : Soft Shell Crab


    เราเคยกินปูนิ่มกันมา เชื่อว่าต้องมีคนเข้าใจว่าปูนิ่มเป็นปูพันธุ์หนึ่งแน่ๆ เรามาลองดูกันเลยครับ ว่าที่จริงแล้วปูนิ่มมีความเป็นมาและเป็นไปอย่างไร รวมถึงประโยชน์ต่อร่างกายที่มาพร้อมกับความเอร็ดอร่อยครับ

ปูนิ่มคืออะไร?

  • ปูนิ่ม (Soft Shell Crab) คือ ปูทะเลที่ลอกคราบใหม่ๆ เพิ่งจะทิ้งกระดองเดิม แต่ยังไม่ทันสร้างกระดองใหม่
  • การสร้างกระดองใหม่ ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง ในน้ำทะเล ก็จะเป็นปูมีกระดองแข็งตามปกติ
  • ปูต้องลอกคราบเพื่อเติบโต ลอกคราบแต่ละครั้งตัวจะโตขึ้นราว 30%
  • ในชั่วชีวิตหนึ่งของปูจะมีการลอกคราบเป็นสิบๆครั้ง กว่าจะโตเต็มที่

ปูนิ่มที่ขายกันในปัจจุบัน

  • เพาะเลี้ยงในฟาร์มปูนิ่มที่ตั้งอยูในพื้นที่ติดทะเล เช่น ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฯลฯ
  • เจ้าของฟาร์มปูนิ่มจะสั่งปูดำ(ปูทะเล) มาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันแหล่งในประเทศร่อยหรอ ต้องอาศัยปูนำเข้าจาก พม่า กัมพูชา ศรีลังกา บังคลาเทศ และปากีสถาน
  • เอาปูมาเลี้ยงต่อในกรงพลาสติกที่เหมือนตะกร้า มีฝาปิด กรงละ  1 ตัว แล้วลอยไว้ในบ่อน้ำเค็ม(ที่สูบน้ำทะเลเข้ามา)
  • ให้อาหารปูตามปกติ ซึ่งได้แก่ ลูกปลาที่ติดอวนชาวประมงมา
  • หมั่นสำรวจกรงปูทุก 3 ชั่วโมง ถ้ากรงไหนเห็นเหมือนมีปู 2 ตัว ก็เอาขึ้นมาขายได้เลย (ปูเขาถอดกระดองทิ้งไว้ข้างๆ เลยเห็นเป็นอีกตัว)
  • ที่ต้องดูทุก 3 ชั่วโมงตลอด เพราะไม่รู้ว่าปูจะลอกคราบเมื่อไหร่ และ ถ้าลอกคราบแล้วปล่อยไว้กับน้ำทะเลก็จะมีการดึงแร่ธาตุต่างๆ มาสร้างกระดองแข็งภายใน 3-4 ชั่วโมง กลายเป็นปูไม่นิ่มไปแล้ว
  • ปูนิ่มที่ผลิตได้ ไทยเราส่งออกไปต่างประเทศถึงปีละกว่า 5,000 ตัน ในรูปปูทะเลนิ่มสดแช่แข็ง ตลาดส่งออกหลัก คือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน สหรัอเมริกา และแคนาดา

ประโยชน์ของการกินปูนิ่ม

  • มีส่วนที่กินได้มากกว่าปูธรรมดาถึง 2 เท่าตัว(แต่ราคาก็แพงกว่าปูธรรมดาด้วย)
  • ได้ แคลเซียม ที่มีประโยชน์ต่อกระดูก และฟัน
  • ได้สาร ไคติน (Chitin) ซึ่งเป็นสารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตผสม สามารถนำไปผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมแล้วได้สาร ไคโตซาน(Chitosan) ที่มีประโยชน์ในแวดวงเภสัชกรรม และเกษตรกรรม เป็นอย่างมาก แต่ในร่างกายเรากินไคตินเข้าไปก็เหมือนกินพวกเสันใยอาหารเข้าไปครับ 

ส่งท้าย

  • ปูนิ่มปัจจุบันตัวเล็กลง เพราะตลาดมีความต้องการสูง ทั้งในและนอกประเทศ ทำให้ปูโตไม่ทัน บางทีปูยังไม่ทันเป็นสาว วางไข่ แพร่พันธุ์ได้เลย ก็ถูกตัดวงจรมาเป็นปูนิ่มเสียแล้ว 
  • ต่อไปผู้มีหน้าที่รับผิดชอบคงจะวางแผนการใช้ทรัพยากรปูให้เป็นระบบที่ดีขึ้น ในอนาคตเราจะได้กินปูกันอย่างสบายใจ ไม่ต้องกลัวสูญพันธุ์ครับ

หมายเหตุ 


  • ทุกเรื่องราวของ vcanfit ท่านสามารถแขร์ได้เลย ไม่มีหวง จะได้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้คนในวงกว้าง ครับ
  • สงสัยเรื่องอาหาร/สุขภาพ อยากได้คำตอบแบบสั้นๆ ง่ายๆ ที่อิงหลักวิชาการ ลองเข้า Google พิมพ์ vcanfit  เว้นวรรค แล้วพิมพ์ คำที่ต้องการหา (เป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้) จากนั้นกด ENTER ครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น