26 มิถุนายน เป็น"วันสุนทรภู่"สถานศึกษา และสื่อต่างๆ คงมีการนำเสนออัตประวัติ รวมทั้งผลงานเด่นๆ ของท่านกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนผมไม่ค่อยเหมือนใคร ใจแวบไปคิดเรื่องที่ท่านสุนทรภู่เคยกล่าวไว้ในนิราศพระบาท เป็นเรื่องของ "กุ้งบก" ครับ
เรื่องราวแต่เก่าก่อน
ฤกษ์งามยามดีวันหนึ่งในฤดูฝน
เพื่อนชวนไปกินข้าวที่บ้าน ก็ไปกันยกก๊วนเช่นเคย ฝนตกพรำๆ อากาศเย็น กินอะไรก็อร่อยคล่องคอไปหมด
จกออเดิร์ฟบ้านทุ่งกันได้สักพัก
เพื่อนบอกวันนี้มีเมนูพิเศษ เป็นขนมจีนน้ำยาสูตรโบราณ หากินยาก พอยกหม้อน้ำยา กับกระจาดขนมจีนออกมาเท่านั้น
เหล่าวัยฉกรรจ์ก็มิรอช้า ซัดกันคนละสองชามเป็นอย่างน้อย ก็แหม มันทั้งหอม
ทั้งอร่อย กินเพลินจนลืมอิ่มกันเลย
เพื่อนคนนึงในกลุ่มติดใจรสน้ำยาสุดๆ
ถามหาร้านเอาไว้ตามไปซื้อกินวันหลัง เจ้าภาพบอกไปหาซื้อที่ไหนก็ไม่มีหรอก ต้องทำกินเอง เพราะมันเป็น “น้ำยากุ้งบก”
เอาละสิ
ตั้งแต่เกิดมาก็เพิ่งเคยได้ยินชื่อ “กุ้งบก” นี่แหละ แล้วมันเป็นไงหว่า เพื่อนบอกอย่ารู้เลย
พวกเราก็ยิ่งสงสัย
ในใจคิดว่าโดนเข้าแล้ว มันหรอกให้ตูเปิบพิสดารแน่นอน แต่ก็ยังดิดว่าจิ๊บจ๊อย มันคงเอาตั๊กแตนปาทังก้าย่างมาโขลก ฮี่โธ่! แค่นี้ไม่หวั่นหรอก ก็เลยเซ้าซี้ถามจนมันบอกความจริง
ในใจคิดว่าโดนเข้าแล้ว มันหรอกให้ตูเปิบพิสดารแน่นอน แต่ก็ยังดิดว่าจิ๊บจ๊อย มันคงเอาตั๊กแตนปาทังก้าย่างมาโขลก ฮี่โธ่! แค่นี้ไม่หวั่นหรอก ก็เลยเซ้าซี้ถามจนมันบอกความจริง
เพื่อนบอกว่าเป็นน้ำยา
“บ้งกือ” จากนั้นก็วงแตก แยกย้ายกันวิ่งเข้าสวน เสียงโอ้กอ้าก ระงม ความเอร็ดอร่อย
ที่บรรจุไว้ถูกลำเลียงออกจากร่างกายแบบหมดไส้หมดพุง
กุ้งบก
- คือ “กิ้งกือ” หรือ “บ้งกือ” ในภาษาอิสาน และ “แมงแสนตี๋น” ในภาษาเหนือ สันนิษฐานว่าชื่อน่าจะได้มาจากลักษณะประจำตัว เช่น บ้ง-กือ คำว่า “บ้ง” แปลว่า หนอนบุ้งที่มีขาเยอะๆ ส่วน “กือ” เป็นหน่วยนับตัวเลข มีค่าเท่ากับ 10 โกฐิ มักใช้แทนคำว่ามากมาย
- ดังนั้นชื่อ เจ้ากิ้งกือ ในทุกภาษาเลยเป็นคำที่ใช้เรียกสัตว์ที่มีขามากมายมหาศาล จะเป็น โกฐิ หรือ เป็น แสน ก็แล้วแต่ภูมิภาคครับ
- แน่นอนว่า คงไม่มีใครคัดค้านตำแหน่ง “พี่มากขา” ตัวจริง หรือ สัตว์ที่มีขามากที่สุดในโลก ที่กิ้งกือครองมานาน สมชื่อ “ Millipede” ที่แปลว่า “1,000 เท้า”
- โดยปกติ กิ้งกือตัวเต็มวัยจะมีจำนวนขาตั้งแต่ 318 – 666 ขา ยังไงก็ไม่ถึง 1,000 ขา แน่นอน
น้ำยากุ้งบก
มาดูวิธีการกินเจ้า กุ้งบก กันดีกว่า
ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ ว่าไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้ไปจับกิ้งกือมากิน ที่ผมนำเสนอก็เผื่ออนาคต ประชากรเพิ่มจนล้นโลก
อดอยากปากแห้ง หรือภัยธรรมชาติอะไรก็ตาม ที่ทำให้ทั่วโลกต้องหาแหล่งอาหารจำพวกโปรตีนราคาถูก
เลี้ยงคนมากๆ ได้ และมีการสนับสนุนให้ทำฟาร์มกิ้งกือกัน พวกเราจะได้เป็นคนแรกๆ
ที่กล้ากินกิ้งกือโดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ (หรือเปล่าหว่า !!!)
- อันที่จริงคนไทยเรากินน้ำยากุ้งบกกันมานานแล้ว ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ ท่านสุนทรภู่ กล่าวถึงไว้ใน “นิราศพระบาท” ว่าไปถึงสระบุรี มีชาวบ้านหาบขนมจีนน้ำยากิ้งกือกุ้งมาขาย ชาววังซื้อกินกันใหญ่ แต่ท่านกินไม่ลง เลยไม่ได้ลองชิม
- ส่วนใหญ่การกินเจ้ากุ้งบก มักจะกินกันในหมู่คนที่เคยมาก่อนจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ค่อยมีทำขาย เมนูที่ทำกินกัน เลยเป็น ขนมจีนน้ำยากุ้งบก เสียเป็นส่วนใหญ่
- วิธีทำก็ไม่ยากครับ แค่โขลกพริกแห้ง ตะไคร้ ข่า หอม กระเทียม กระชาย ผิวมะกรูด เกลือแกง ให้ละเอียด จากนั้น นำกุ้งบกไปเผาพอเกรียม แกะเปลือกออก เอาเนื้อ ลงครกโขลก แล้วตั้งพักไว้ เป็นอันเสร็จสิ้นการเตรียมเครื่องน้ำยา
- จากนั้นก็ต้มน้ำปลาร้า กรองเอาก้างออก ทุบตะไคร้ 3-4 ต้นใส่ลงไป ต้มต่อจนเดือด แล้วจึงนำเครื่องน้ำยาที่โขลกไว้ใส่ลงไป ตามด้วยใบมะกรูดฉีก ต้นหอมซอย และพริกสด ปรุงรสด้วยน้ำปลา ปิดฝา ยกลง เป็นอันเสร็จ
- เทคนิคที่สำคัญของเมนูนี้ คือ ต้องทำให้ข้นหน่อย จะหอมอร่อยน่ากินมาก
- เอาขนมจีนใส่จาน ตักน้ำยากุ้งบกราด แนมด้วยผักสด ตามแต่จะหาได้
ปิดท้าย
- วันนี้ "วันสุนทรภู่" แต่ผมกลับไปนึกภึงอาหารที่ท่านสุนทรภู่กล่าวถึง ท่านใดยี้แหวะก็ขออภัยด้วยนะครับ คนมันมีปมจริงๆ คือ "ถูกหลอกให้กิน แต่ก็แอบติดใจ" ครับ
😑😑😑😑😑
ตอบลบ😑😑😑😑😑
ตอบลบ