ชื่อ กัวรานา หรือ กัวรานาสกัด ผ่านหูเราชาวไทยบ่อยขึ้น ทำให้มีคำถามทั้งในใจ และ นอกใจ อยู่เนืองๆ ว่า มันคืออะไร? แล้วจะกินไปทำไม? มีประโยชน์ไหม? ฯลฯ
กัวรานา (Guarana)
- เป็นไม้เลื้อยพันธุ์พื้นเมืองในเวเนซูเอล่า และ ตอนเหนือของบราซิล อยู่ในเขตป่าฝนอเมซอน
- ผลมีสีแดง มีเมล็ดสีดำ เวลาผลอ้าออกจะเห็นเมล็ดสีดำตัดกันกับผลสีแดง ดูแล้วเหมือนลูกตา
การนำมาใช้
- ในประเทศแถบอเมริกาใต้ โดยเฉพาะ บราซิล และ อุรุกวัย รวมทั้งประเทศในแถบแอฟริกา นิยมใช้กระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น รู้สึกกระปรี้กระเปร่า
- บราซิล นำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่มยอดนิยมของเขา ว่ากันว่าจะ ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับนักกีฬา ลดความเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกาย
- อินเดีย ใช้กัวรานา รักษาอาการไข้ โรคไมเกรน(Migraine) ตะคริว(Cramps) และ ใช้เป็นเครื่องดื่มชูกำลัง
- สหรัฐอเมริกา ใช้แก้อาการอ่อนเพลีย ทำให้รู้สึกสดชื่น และ ช่วยลดน้ำหนัก
- มีงานวิจัยจากแพทย์ในอเมริกาที่พบว่า สารสกัดจากเมล็ดกัวรานา ช่วยให้ผู้ที่ติดบุหรี่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้
มีสารอะไรในกัวรานาสกัด
- ในปี ค.ศ.1700 นักพฤษศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทำการแยกสารสำคัญจากกัวรานา ได้สารที่มีรสขม เป็นผลึกสีขาว และได้ตั้งชื่อสารนี้ว่า กัวรานีน (Guaranine) ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คาเฟอีน (Caffeine)
- ทุกวันนี้ก็ยังเชื่อกันว่า กัวรานีน มีสารออกฤทธิ์เฉพาะ ที่แตกต่างจาก คาเฟอีน (แบบว่าไม่เหมือนกันเสียทีเดียว)
- คาเฟอีน ส่วนใหญ่สกัดได้จาก ชา หรือ กาแฟ แต่ก็ยังมีแหล่งคาเฟอีนอื่นๆตามธรรมชาติอีก เช่น เยอร์บามาเท (Yerba Matte) พืชโคล่า (Kola Nuts) และ กัวรานา (Guarana)
- คาเฟอีน มีฤทธิ์ กระตุ้นเซลล์ประสาท ทำให้ร่างกายตื่นตัว ลดความรู้สึกอ่อนเพลีย ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และ ความดันเลือดสูงขึ้น
- พบสารประเภท Natural Phenol ได้แก่ Catechin และ Epicatechin ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ส่งท้าย
- กัวรานีน จากกัวรานาสกัด ก็เทียบเท่ากับ คาเฟอีน ดังนั้นคำแนะนำในวงการแพทย์ที่ ให้กินคาเฟอีนไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม (0.3 กรัม) ก็ควรนำมาพิจารณาใช้ แม้งานวิจัยจะบอกว่าขนาดของคาเฟอีนที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเรา คือ 6-7 กรัม ขึ้นไปก็ตาม ครับ
http://www.planetbio.eu/health/5-facts-you-didnt-know-about-guarana/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น