มะยงชิต กับ มะปรางหวาน มีลักษณะเนื้อใกล้เคียงกับมะม่วงสุก แต่เหนือกว่าเพราะกินทั้งเปลือกได้ เนื้อฉ่ำ รสหวาน เป็นผลไม้ทีออกผลเฉพาะฤดูกาล ดังนั้นช่วงที่มีขายจึงไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงครับ
มะปราง vs มะยงชิด
- มะปราง กับ มะยงชิด เป็นพืชในกลุ่มเดียวกัน แต่เมื่อมีการปลูกโดยใช้เมล็ด เลยมีการกลายพันธุ์ทำให้มีลักษณะที่แตกต่างกันไป ทำให้มะปรางถูกเรียกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น มะปรางหวาน มะปรางเปรี้ยว มะยงชิด มะยงห่าง และ กาวาง เป็นต้น
- มะปรางเปรี้ยว กับ มะยงห่าง เปรี้ยวมากกว่าหวาน ไม่เป็นที่นิยม ส่วน กาวาง เปรี้ยวมาก (จนอีกาคาบแล้วต้องวาง) เลยจะขอตัดบท เสนอเฉพาะของอร่อย คือ มะปรางหวาน กับ มะยงชิต ครับ
มะปรางหวาน
- ผลดิบมี รสมัน
- ผลสุกมี รสหวานจืดๆ -> หวานจัด
- ขนาดผล มักจะเล็กกว่ามะยงชิด
- บางสายพันธุ์กินแล้วจะคันคอ
- ผลสุกมี สีออกเหลือง
มะยงชิด
- ผลดิบมีรสเปรี้ยว
- ผลสุกมี รสหวานอมเปรี้ยว
- ส่วนมาก ผลจะใหญ่กว่ามะปรางหวาน
- กินแล้วมักไม่คันคอ(ไม่ค่อยมียาง)
- ผลสุกมี สีเหลืองอมส้ม
ประโยชน์ของมะปรางและมะยงชิด
- เนื้อมี สารเบตาแคโรทีนสูง (230 ไมโครกรัม/100 กรัม) ซึ่งเบตาแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของวิตามินA ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงสายตาและผิวหนัง
- มี วิตามินC 100 มิลลิกรัม/100 กรัม ที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบทั้งในผิวหนังและกระดูก
- มี แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก
เทคนิคการเลือกซื้อ
- ผิวสีส้ม (มะปรางจะส้มอ่อน) ควรมีสีส้มเกิน 80% ของผล เพราะมะปรางและมะยงชิดเป็นผลไม้ที่ไม่สามารถเก็บมาบ่มให้สุกเพิ่มได้เหมือน มะม่วง หรือผลไม้อื่น ต้องเก็บจากต้นตอนสุกพอดีกินแล้วเท่านั้นครับ
- ผิวออกนวลขาว ไม่ช้ำใส(เนื้อจะเละ)
- มีสีเขียวที่ขั้วเล็กน้อย
- ผลใหญ่ เมล็ดเล็ก (ต้องขอกัดชิม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น