"สละ" ผลไม้ชื่อไม่เป็นมงคลในวันหวยออก หรือในฤดูโยกย้าย โปรโมทตำแหน่งใหม่ นัยว่า กินแล้วจะสละสิทธิ์ให้คนอื่น อะไรทำนองนั้น
สละ : Salak
- เป็นพี่น้องสลุลเดียวกับระกำ แต่เป็นวงศ์เดียวกับปาล์ม
- เป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ซึ่งมีสละอยู่หลายสายพันธุ์มาก เช่น พันธุ์บาหลี และพันธุ์พันธุ์ปนโดะห์
- ต้นสละมีหนามแหลม ออกจากก้านใบ
- สละออกผลเป็นทะลายเรียกว่า “คาน” ในแต่ละคานจะมีทะลายย่อยซึ่งเราจะเรียกว่า “กระปุก”
- ผลสละจะยาวรี มีหนาม หัวท้ายแหลม โดยผลจะไม่อ้วนกลมป้อมเหมือนระกำ
- สละผลจะมีสีคล้ำออกน้ำตาล หนามที่เปลือกไม่แข็งเท่าระกำ เนื้อเยอะกว่าระกำ แต่เมล็ดเล็กกว่ามีรสชาติหวานกว่า แกะกินก็ง่ายกว่าระกำครับ
สละในเมืองไทย
มีสายพันธุ์ที่พบได้บ่อย ดังนี้- สละเนินวง ผลจะมีหัวท้ายเรียว สีส้มอมน้ำตาล หนามยาว รสหวานหอม
- สละหม้อ ผลยาว มีปลายแหลมเป็นจะงอย และเปลือกสีแดงเข้ม
- สละสุมาลี ผลป้อมสั้น เนื้อออกสีส้มคล้ายกับระกำ แต่หวาน
ประโยชน์
- กินสด ทำสละลอยแก้ว ทำน้ำสละ
- แก้กระหาย ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ
เทคนิคการแกะเปลือก(แบบไม่เจ็บมือ)
- ปลิดสละออกจากขั้วที่ละผล
- ใส่ลงในตะกร้าที่เป็นรูโปร่ง
- เขย่าให้เปลือกเสียดสีกัน1-2 นาที หนามที่เปลือกจาะหลุดออกเกือบหมด
- แกะเปลือกง่าย ๆ โดยเริ่มจากการบิดเปลือกส่วนปลายผล แล้วปอกวนขึ้นไปถึงขั้วผล เปลือกจะหลุดออกมาอย่างง่ายดาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น