กุยช่ายที่ขายๆ กันในบ้านเรา มี 3 แบบ คือ กุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว และดอกกุยช่าย แต่ละอย่างเป็นอย่างไร มาดูกันครับ
กุยช่าย (Chinese Chive)
- เป็นพืชวงศ์เดียวกับหอมและกระเทียม
- ในท้องตลาดมีกุยช่าย 3 ชนิด ได้แก่ กุยช่ายเขียว กุยจ่ายขาว และดอกกุยช่าย ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นกุยช่ายพันธุ์เดียวกันทั้งหมด แตกต่างกันที่วิธีปลูกเท่านั้นเองครับ
- ถ้าปลูกโดยให้รับแสงแดดปกติ ใบจะเขียวเข้มได้เป็นกุยช่ายเขียว แต่ถ้าปลูกไม่ให้โดนแสงโดยเอากระถางดินเผาครอบ ใบกุยช่ายจะสีซีดจนขาว ได้เป็นกุยช่ายขาว ครับ
- กุยช่ายขาว ใบจะอวบ และหวานกรอบกว่ากุยช่ายเขียว มีราคาแพงกว่ากุยช่ายเขียวมาก
- เมื่อปลูกกุยช่ายให้โตจนออกดอก ก็จะได้ดอกกุยช่ายมาเป็นอาหารครับ
ประโยชน์
- กุยช่ายเขียว ใช้กินสดกับลาบ หรือผัดไทย ใช้ทำไส้ของขนมกุยช่าย
- กุยช่ายขาว นิยมนำไปผัดกับหมูกรอบ หรือ เต้าหู้ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง
- ดอกกุยช่าย นิยมนำมาผัดกับตับหมู
- กุยช่าย มีฤทธิ์ร้อน ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายได้ จึงเหมาะที่จะกินในช่วงหน้าหนาวหรือหน้าฝน
- มีธาตุเหล็กสูง ช่วยในการสร้างเม็ดแดง
- มีวิตามินเอที่ช่วยในการมองเห็น ช่วยบำรุงสายตา
- มีแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงกระดูก
- มีสารอัลลิซิน ซึ่งทำให้กุยช่ายมีกลิ่นฉุน อัลลิซินมีฤทธิ์ในการลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือด และช่วยลดความดันโลหิต
- มีเส้นใยอาหารปริมาณที่สูงมาก ช่วยเพิ่มปริมาณกากอาหารทำให้ขับถ่ายคล่อง และลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้
ปิดท้าย
- กุยช่ายที่ผ่านการปรุงโดยใช้ความร้อน จะมีรสหวานขึ้น และกลิ่นฉุนลดลง
- กุยช่ายที่กินสดๆ เช่นกินกับผัดไทย เราจะได้วิตามินC มากกว่าที่ผ่านความร้อนแล้ว
- กุยช่ายขาวมีประโยชน์น้อยกว่ากุยช่ายเขียว เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิล และมีเบต้าแคโรทีนน้อยกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น