หลายท่านที่สังเกตุสี และลักษณะของปัสสาวะตัวเอง(คงไม่มีใครไปสังเกตุของคนอื่นนะครับ) อาจสงสัยว่า ทำไมสีเป็นแบบนี้(หว่า)? มาดูคำอธิบายคร่าวๆ กันครับ
ปัสสาวะ
- คือ ของเสีย ซึ่งเป็นของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดแล้วขับออกทางท่อปัสสาวะ
- การสังเกตุลักษณะของปัสสาวะ ก็พอจะบอกถึงสุขภาพร่างกาย และโรคภัยที่กำลังจะมาเยือนเราได้ครับ
สังเกตุอย่างไร?
1. สังเกตุปริมาณ
- คนปกติจะถ่ายปัสสาวะวันละ 3 ถึง 5 ครั้ง ตั้งแต่ตื่นนอนเช้าถึงก่อนเข้านอน ส่วนกลางคืนหลังเข้านอนแล้วไม่ควรถ่ายปัสสาวะอีกจนถึงเช้า นอกจากจะดื่มน้ำมากหรือในเด็กเล็ก
- ถ้าปัสสาวะบ่อยเป็นประจำ กะปริบกะปรอย อาจเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
- เด็กอายุ 1- 6 ปี จะถ่ายปัสสาวะวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1/3 ลิตร และไม่ควรมากกว่า 1 ลิตร
- เด็กอายุ 6 - 12 ปี ควรถ่ายปัสสาวะวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1/2 ลิตร และไม่ควรเกิน 2 ลิตร
- ผู้ใหญ่ควรถ่ายปัสสาวะวันละ 1 ลิตร และไม่ควรเกิน 2 ลิตร
- การถ่ายปัสสาวะน้อยไป ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มน้ำน้อย หรือร่างกายเสียน้ำ เช่น เหงื่อออกมาก ท้องเดิน อาเจียนมาก เป็นต้น ส่วนน้อยอาจเกิดจากโรคไต และอื่น ๆ
- การถ่ายปัสสาวะมากไป ส่วนใหญ่จะเกิดจากการดื่มน้ำมาก หรือ อาจเกิดจากยาบางชนิดเช่น ยาลดความดัน และอาจเกิดจากโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
2. สังเกตุสี
สีใส-->เหลืองอ่อน .
- เป็นสีปัสสาวะปกติ
- ถ้าดื่มน้ำน้อยปัสสาวะจะน้อยและมีสีเข้มขึ้น
- ถ้าดื่มน้ำมากปัสสาวะก็จะมากและมีสีอ่อนลง
สีส้ม-->แดง .
- มักเกิดจากการกินอาหารบางชนิด เช่น แก้วมังกรสีแดง แบล็คเบอรี่ หัวบีท มะละกอสุก
- เกิดจากการกินยาบางชนิด เช่น ยาฆ่าเชื้อทางเดินปัสสาวะ ยากันชัก ยารักษาวัณโรค
- เกิดจากการมีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ(พบบ่อย) นิ่ว
- อาจเกิดจากการมีรอบเดือน แล้วปนเปื้อนกันตอนถ่ายปัสสาวะ ก็เป็นได้ครับ
สีน้ำตาล-->ดำ .
- เกิดจากการใช้ยา ควินิน (Quinine) ที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
- ผู้ที่เป็นโรคเลือด G6PD Deficiency เมื่อได้รับยา หรืออาหารที่แพ้ เช่น ถั่วปากอ้า จะเกิดเม็ดเลือดแดงแตก จนปัสสาวะออกมาสีคล้ำมากๆ
สีฟ้า-->เขียว .
- มักเกิดจากการใช้ยาฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่ชื่อ เมธิลีนบลู (Methylene Blue) ซึ่งไม่เป็นอันตรายอะไร
สีน้ำนม .
- สีขาวขุ่น มักเกิดจากหนองที่เกิดจากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ถ้าพบไม่ควรนิ่งนอนใจนะครับ
- อาจเป็นสีของไขมัน ซึ่งเกิดจากการที่ท่อน้ำเหลืองอุดตัน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเท้าช้าง
ปิดท้าย
- หมั่นสังเกตุตัวเองกันนะครับ จะช่วยป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้ หรืออย่างน้อยก็ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาครับ
หมายเหตุ
- ทุกเรื่องราวของ vcanfit ท่านสามารถแขร์ได้เลย ไม่มีหวง จะได้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้คนในวงกว้าง ครับ
- สงสัยเรื่องอาหาร/สุขภาพ อยากได้คำตอบแบบสั้นๆ ง่ายๆ ที่อิงหลักวิชาการ ลองเข้า Google พิมพ์ vcanfit เว้นวรรค แล้วพิมพ์ คำที่ต้องการหา (เป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้) จากนั้นกด ENTER ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น