อะไรก็ตามที่มีคุณอนันต์ ก็ย่อมมีโทษมหันต์ได้เหมือนกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งแสงแดด ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้ ในขณะที่สามารถทำลายชีวิตได้พร้อมๆกัน
แสงแดดกับร่างกายมนุษย์
แสงแดดมีคุณ
- แสงแดดมีความจำเป็นต่อมนุษย์เรา เพราะ เป็นแหล่งของวิตามินD ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือด โดยที่แคลเซียมจะทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ตามปกติ และเสริมสร้างกระดูก
- ผิวหนังคนเราสามารถสร้างวิตามินD ได้ เมื่อได้รับแสงแดด
- การผลิตวิตามินD ของร่างกายเรา ไม่ต้องใช้แสงแดดมาก เพียงแค่ให้โดนแสงแดดบ้าง ราว 10-15 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็เพียงพอ
- ความร้อนที่ได้จากแสงแดดสามารถกระตุ้นให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
แสงแดดมีโทษ
- ทำให้แก่เร็ว สังเกตุดูได้ว่าผู้ที่มีอาชีพต้องอยู่กลางแดด(โดยไม่มีอะไรป้องกัน) จะดูแก่กว่าคนอายุเท่ากันที่ไม่ค่อยตากแดดเสมอ
- ทำให้เกิดความผิดปกติของสีผิว เช่น ฝ้า กระ
- ทำให้ผิวไหม้เกรียมได้
- ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ผิวลดลง เกิดการแพ้แดด
- ทำให้ผิวมีริ้วรอย เหี่ยวย่น แก่ก่อนวัย
- ทำให้เกิดมะเร็งของผิวหนัง
- โรคหลายโรคอาจกำเริบเมื่อถูกแสงแดด เช่น โรคลมพิษจากแสงแดด โรคเอสแอลอี ต้อ เริม ฯลฯ
- มีผลต่อเซลล์ของเนื้อเยื่อตาทำให้ตาเป็นต้อเนื้อ และต้อกระจก
ตัวอันตรายในแสงแดด
1. รังสียูวีเอ (UVA)- คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่มีคลื่นยาวกว่ารังสี UVB และ UVC (UVA มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร)
- สามารถทะลุชั้นหนังกำพร้า ไปถีงชั้นหนังแท้ได้
- อาการที่เกิดขึ้นกับผิวหนังเมื่อสัมผัสกับรังสี UVA จะเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก
- ถ้าได้รับรังสี UVA มากๆ จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในผิวหนัง ซึ่งจะทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ ทำให้ ผิวหนังเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอย สีผิวคล้ำ
- คือรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นรองลงมาจาก UVA (ความยาวคลื่น 290-300 นาโนเมตร)
- รังสี UVB จะถูกกั้นโดยชั้นบรรยากาศบางส่วน และ ลงมาถึงผิวโลกประมาณ 0.1% ของทั้งหมด
- รังสี UVB ไม่สามารถทะลุสู่ชั้นผิวหนังที่ลึกได้เท่ากับรังสี UVA แต่ก็มีผลทำให้ ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เกิดอาการแสบร้อน แดง และไหม้เกรียมได้
- รังสี UVB จะ มีความแรงสูงสุดในช่วงเวลากลางวัน คือตั้งแต่ 10-14 น.
- เป็นรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีคลื่นสั้นที่สุด
- แต่ก่อน รังสี UVC จะถูกกรองไว้ได้ทั้งหมดโดยชั้นโอโซน ไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศของโลกลงมาได้
- ปัจจุบัน รังสี UVC สามารถทะลุชั้นโอโซนมายังพื้นโลกได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากมลพิษที่มนุษย์โลกก่อขึ้นมา จนไปทำลายชั้นโอโซนให้บางลง
เทคนิคการป้องกันตัว
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะ ระหว่างเวลา 10.00 -16.00 น. เพราะเป็นช่วงที่รังสี UV กว่า 80% จะออกอาละวาดอย่างหนัก
- พยายามหลบแดดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในทุกสถานการณ์
- สวมหมวกปีกกว้าง หรือ กางร่มกันรังสี UV เมื่อต้องเจอแสงแดด หรือทำกิจกรรมต่างๆ กลางแดด
- สวมเสื้อผ้าให้ปิดผิวอย่างมิดชิด (ที่สุดเท่าที่จะทำได้) ซึ่งโดยทั่วไปเสื้อผ้าที่ทอเนื้อแน่นสีเข้มๆ สามารถกันแดดได้มากกว่าเสื้อผ้าเนื้อบางๆ
- ทาครีมกันแดดในบริเวณผิวหนังที่ไม่สามารถป้องกันด้วยเสื้อผ้าได้ เช่น บริเวณใบหน้า คอ ใบหู และ หลังมือ โดยทาในปริมาณที่ฉลากผลิตภัณฑ์แนะนำไว้ รวมทั้งการทาซ้ำตามที่ระบุไว้ด้วย เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF พอเหมาะ ( SPF ยิ่งสูงทาแล้วยิ่งดูเป็นการพอก และยิ่งแพงด้วยครับ แต่ก็สามารถปกป้องได้มากกว่า)
- สวมแว่นกันแดดทุกครั้ง เมื่อต้องออกแดด หรือมองไปยังที่ๆมีแดด
ข้อสังเกตุ
- เรามักคิดกันว่า วันที่มีเมฆหมอกมาก ฟ้าหลัว หรือ มีอากาศหนาว ไม่น่าจะมีอันตรายจากแสงแดด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ขนาดที่พออ่านหนังสือได้ ก็สามารถมีรังสี UV ที่ก่ออันตรายได้แล้วครับ
- วันที่มีลมพัดแรง ผิวหนังเราจะถูกทำร้ายจากรังสี UV ได้มากขึ้นกว่าปกติ เพราะลมที่พัดแรงจะทำให้เรารู้สึกเย็นสบาย จนเผลออยู่กลางแจ้งหรือกลางแดดนานกว่าปกติ
- การอยู่ในที่สูง เช่น บนภูเขา ก็ทำให้ผิวมีโอกาสได้รับอันตรายจากแสงแดดมากกว่าปกติด้วย เพราะพื้นที่สูงจะมีชั้นบรรยากาศข่วยดูดซับรังสีที่เป็นอันตรายจากแสงแดด น้อยกว่าที่ระดับน้ำทะเล
- เวลาไปต่างจังหวัดที่ต้องใช้เวลาเดินทางนานๆ บางคนชอบเปิดหน้าต่างรถให้ลมพัดโกรก อันนี้สามารถทำให้ใบหน้าท่านคล้ำไปหลายเฉดสีทีเดียวครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น