ผักกูด จริงๆ ไม่ใช่พวกผัก แต่เป็นเฟิร์นที่กินได้ แถมอร่อยด้วย ไม่มีรสขมเจือแบบผักหลายชนิด ทำให้กินได้อย่างเพลิดเพลิน อร่อยทุกคำครับ
ผักกูด
- ผักกูด อยู่ใน ตระกูลเฟิร์น ที่อยู่ในวงศ์ Athyriaceae ซึ่งนำมากินได้
- พบในเขตร้อนทั่วไปของเอเชีย
- ประเทศไทยเราจะพบผักกูดได้ทั่วไป ในบริเวณที่มีสภาพชื้นแฉะ (ปัจจุบันมีการปลูกผักกูดขายเป็นแปลงๆ ครับ)
- ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้า ใช้สปอร์ หรือไหล
- ผักกูด มีเหง้าสูงได้ถึง 1 เมตร ใบเป็นแผงรูปขนนก
- ส่วนที่เรานำมาเป็นอาหารเรียกว่า ฟรอนด์ (Frond) ซึ่งเป็น ก้านใบใหม่ที่โผล่ขึ้นมาจากลำต้น มีส่วนปลายม้วนงอแบบก้นหอย (ส่วนปลายนี้จะเติบโตไปเป็นใบ) มีรสจืดอมหวาน และกรอบ
- ไม่นิยมกินผักกูดสด เนื่องจาก มียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน
- เป็นผักราคาถูก กำละประมาณ 10 บาท แต่ไม่ได้มีขายทุกแผงผัก
- ช่วงหน้าแล้ง ผักกูดจะมีรสชาติอร่อยกว่าช่วงอื่น ครับ
ประโยชน์
- ส่วนยอดอ่อน หรือ ฟรอนด์ นำมาลวกจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย ยำ แกงกะทิกับปลาย่าง แกงจืดผักกูดหมูสับ ผักกูดผัดไข่ ฯลฯ
- ผักกูด 100 กรัม (1 ขีด) จะให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี่,เส้นใยอาหาร 1.4 กรัม,ธาตุเหล็ก 36.3 มิลลิกรัม,ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม
- ผักกูด มี วิตามินA,วิตามินB1,วิตามินB2 และวิตามินB3 ค่อนข้างสูง
- ผักกูดมีจุดเด่นที่ เส้นใยอาหารสูง ธาตุเหล็กสูง และ วิตามินAสูง ครับ
- ทางสมุนไพร ผักกูดช่วยแก้ไข้ แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต ขับปัสสาวะ และลดความดันโลหิตสูง
เทคนิคที่ควรรู้
- ต้องทำให้ผักกูดสุกก่อนกินทุกครั้ง ห้ามกินสดเนื่องจากมีสาร ออกซาเลต (Oxalate)สูง อาจไปตกผลึกทำให้เกิดนิ่ว หรือ ไตอักเสบ ได้
- ต้นผักกูด เป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมได้ เนื่องจากถ้าบริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินกับน้ำมีสารเคมีเจือปนมาก ผักกูดจะไม่ขึ้นในบริเวณนั้นครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น