"ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่" สำหรับเรื่องนี้คงต้องเอามาประยุกต์เป็น "ดูแมงดาให้ดูหาง..." นั่นแหละครับ เรื่องนี้เหมาะสำหรับคอยำไข่แมงดาทะเล โดยเฉพาะตัวผมเองที่เห็นเป็นไม่ได้ ต้องสั่งมากินแน่ๆ ครับ
แมงดาเหมือนกัน..แต่ไม่เหมือนกัน!!
แมงดาทะเล สัตว์โลกล้านปี
- แมงดาทะเลเป็นสัตว์ทะเลโบราณที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว
- จากฟอสซิลที่สำรวจพบมีลักษณะคล้ายกับแมงดาทะเลในปัจจุบันมาก
- แมงดาทะเลเป็นสัตวที่ปรับตัวได้ดีมากต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
- บริเวณชายฝั่งทะเลของไทย มีแมงดาทะเลอยู่ ๒ ชนิด คือ แมงดาจาน และ แมงดาถ้วย
- แมงดาทั้งสองชนิดนี้พบมากที่สุดตามพื้นที่แนวชายฝั่งของทะเลตั้งแต่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร จันทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตลอดไปจนถึงชุมพร
แมงดาชนิดไหนกินได้ ชนิดไหนมีพิษ??
แมงดาจาน (แมงดาหางเหลี่ยม) :Triangle-Tail Horse-Shoe Crab
- แมงดาจาน มีขนาดใหญ่กว่า แมงดาถ้วย
- เส้นผ่านศูนย์กลางลำตัวประมาณ 20 ซม. ผิวด้านบนมีสีน้ำตาลอมเขียว
- หางเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งด้านบนมีสัน และมีหนามเรียงกัน เป็นแถวคล้ายฟันเลื่อย
- พบตามพื้นทะเลห่างชายฝั่งทั่วไป
- จะขึ้นมาผสมพันธุ์และวาง ไข่บนหาดทรายในช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ทุกปี
- แมงดาทะเลชนิดนี้ ยังไม่มีรายงานว่า กินแล้วเป็นพิษแต่อย่างใด
แมงดาถ้วย (แมงดาหางกลม) : Round-Tail Horse-Shoe Crab
- ชื่ออื่นๆ คือ เหรา (อ่านว่า เห-รา),แมงดาไฟ
- มีขนาด เล็กกว่า แมงดาจาน
- เส้นผ่านศูนย์กลางลำตัว ประมาณ 15 ซม. ผิวด้านบนมีสีน้ำตาล อมแดง
- ส่วนท้องมีหนามทางด้านข้างจำนวน 6 คู่
- หางค่อนข้างกลม ไม่มีสัน และไม่มีหนาม
- พบตามชายฝั่งที่เป็นดิน โคลนหรือตามลำคลองที่เป็นป่าชายเลน พบทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งมหาสมุทรอินเดีย
- สามารถวางไข่ได้ตลอดปี
- แมงดาถ้วยนี้กินแล้วอาจเป็นพิษได้
- ช่วงเดือน ก.พ. – มิ.ย.จะมีการเจริญพันธุ์ของแพลงก์ตอนที่สร้างสารพิษจำนวนมาก แมลงดาถ้วยจะกินแพลงก์ตอนนี้ และพิษจะไปสะสมที่ไข่ เมื่อคนกินไข่แมงดาที่มีพิษเข้าไป จะเกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง และ รวดเร็ว ภายใน 10-45 นาที
- สารพิษที่พบในไข่ของแมงดาถ้วย คือ เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) และ เซซิท็อกซิน (Sasitoxin) ซึ่ง เป็นพิษต่อระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ
- อาการเมื่อได้รับพิษ คือ ชารอบปาก ลิ้นชา เวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ชาตามปลายนิ้วมือและเท้า และมีอาการอ่อนแรงของปลายมือและเท้า กลืนลำบาก หนังตาตก หยุดหายใจ และถึงกับเสียชีวิตได้
- ถ้าพบว่าหลังจากที่กินแล้ว มีอาการชาที่ปาก หายใจไม่ออก รีบล้วงคอให้อาเจียนทันที แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการรักษาอาการเบื้องต้นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้ หลังจากนั้นก็จะรักษาตามอาการ
- ใน เด็กเล็กจะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่
- การต้ม ทอด ปิ้ง ไม่สามารถทำลายพิษได้ เนื่องจาก สารพิษสามารถทนความร้อนได้สูงมาก
- ปัจจุบัน ยังไม่มียาแก้พิษจากแมงดาทะเลโดยเฉพาะ นะครับ
สรุปได้ว่า
- แมงดาจาน กินได้ แต่ แมงดาถ้วย กินไม่ได้
- วิธีดู ให้สังเกตที่ หาง
- หางแมงดาจาน จะเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งด้านบนมีสัน และมีหนามเรียงกัน เป็นแถวคล้ายฟันเลื่อย --> กินได้
- หางแมงดาถ้วย ค่อนข้างกลม ไม่มีสัน และไม่มีหนาม --> กินไม่ได้
- ถ้าจะกินไข่แมงดา ต้องให้เห็นตัวด้วยจะได้ดูหาง
- ไข่แมงดา แบบที่ทำไว้แล้ว หรือ แกะใส่ถุงไว้แล้ว จะกินก็คงต้องเสี่ยงเอาละครับ แต่ผมไม่กล้า กลัวแจ้คพ็อตแตก
- สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานว่าในช่วงหน้าร้อน ปี 2557 จ.ตราด พบผู้ได้รับพิษจากการกินไข่แมงดาถ้วย ถึง 17 ราย ครับ มีผู้เสียชีวิตด้วย
ขอมูลด้านบนไม่ถูกเสียหมดนะครับ เหรา ตัวจะเล็กกว่าแมงดาถ้วย และมีขนที่กระดองเยอะ
ตอบลบกว่าแมงดาถ้วย ไข่แมงดาถ้วยจะเม็ดเล็กและอร่อยกว่าแมงดาจาน ถ้าจะทานแมงดาถ้วย จะมีเส้นขี้ ดำๆจากโคนหางยาวไปตรงกระบังลม เอาเส้นนั้นออกก็ทานได้