ระกำ ไม่นิยมปลูกในบ้าน เพราะกลัวจะต้อง "ระกำ ช้ำชอกใจ" เหมือนชื่อต้นไม้ แต่ถึงจะมีชื่อ "ชื่นทรวง" ตั้งแต่แรก ก็คงหาคนปลูกในบ้านยากละครับ เพราะมีหนามแหลมอันเบ้อเร่อทั้งต้นครับ
ระกำ
- เป็นพืชในตระกูลปาล์มและจัดอยู่ในสกุลเดียวกับสละ คือ Salacca
- ต้นระกำ มีลักษณะเป็นกอ มีหนามแหลมยาวประมาณ 1 นิ้ว
- ใบมีลักษณะยาวเป็นทางประมาณ 2-3 เมตร
- ผลรวมกันเป็นทะลาย แต่ละทะลายจะมีผล 2-5 กระปุก
- ผลจะมีเปลือกที่มีหนามแข็งเล็กๆ ภายในจะมีเนื้อ 2-3 กลีบ เนื้อน้อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
- ผลดิบมีรสเปรี้ยวฝาด ผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน
- ระกำหวาน รสชาติดี มีที่จังหวัดตราด ถึงจะมีสละออกมาแบ่งส่วนแบ่งในตลาดไป แต่คนที่ยังชื่นขอบรสชาติระกำก็ยังมีอยู่ไม่น้อยครับ ยังพอจะเป็นพืชเศรษฐกิจได้
- ฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตของระกำ คือ พฤษภาคม - มิถุนายน
ระกำ vs สละ
- ระกำผลจะป้อมกว่า เมล็ดจะใหญ่กว่า และเนื้อมีสีเหลืองอมส้ม
- สละ เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีเหลืองอ่อนๆ และเนื้อเยอะกว่า
- ระกำจะมีกลิ่นหอมมากกว่า
ประโยชน์
- ผลระกำที่ยังไม่สุกจะมีรสเปรี้ยว สามารถนำไปทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้มยำไก่ใส่ระกำ ชะอมต้มระกำ ปลาทูต้มระกำ ต้มส้ม น้ำพริกระกำ ฯลฯ
- ระกำ ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น น้ำระกำ ระกำแช่อิ่ม ระกำลอยแก้ว ฯลฯ
- ระกำมีวิตามิน และ แร่ธาตุต่างๆ ที่ร่างกายต้องการหลายชนิด
- ในทางสมุนไพร ระกำช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ และขับเสมหะ
ส่งท้าย
- ถ้ามีโอกาส ควรช่วยกันสนับสนุนชาวสวนระกำ ที่ต้องพยายามเอาเชือกผูกโยงทลายที่อยู่ใกล้พื้นดินไว้กับลำต้น(ที่มีหนามแหลมจำนวนมาก) เพื่อไม่ให้ผลสกปรกจนเกิดการเน่าเสียและป้องกันมดปลวกทำลาย ลำบากลำบนกว่าจะได้ระกำมาขาย ทำงานกับขวากหนามแท้ๆครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น