วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หมากฮอส..เกมส์แห่งการเสมอกัน

ก่อนที่ผู้คนส่วนใหญ่จะหันมาจดจ่อกับสมาร์ทโฟนส่วนตัว ของใครของมัน  ยุคนึงเราเคยเล่นหมากกระดานกันสนุกสนาน ผมยังจำได้ดีเวลาผ่านซุ้มพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่นั่งโขกหมากรุก หรือหมากฮอสกันเพื่อฆ่าเวลา

หมากฮอส (checkers)

  • เชื่อกันว่า หมากฮอส ดัดแปลงมาจาก หมากรุก ครับ โดยเอามาเฉพาะตัวเบี้ย และยังกำหนดกฎกติกาให้ง่ายขึ้นกว่าหมากรุก
  • หมากฮอสเริ่มขึ้นในสเปน เมื่อ พ.ศ. 2090 ซึ่งในระยะแรกยังไม่ได้รับการยอมรับ และถูกขนานนามว่า เป็นหมากสำหรับผู้หญิง ต่อมาจึงแพร่หลาย และเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
  • ในยุคกลาง หมากฮอส ถูกเรียกว่า "หมากรุกของผู้หญิง" หรือ "chess for lady"
  • การเดินหมากฮอส จะคล้ายกับการเดินของควีน ในหมากรุก แต่ไม่สามารถเดินถอยหลังได้ จนกว่าจะเดินไปยังสุดกระดาน
  • กติกาของหมากฮอสในแต่ละถิ่นจะไม่เหมือนกัน เช่น บางประเทศ ตัวหมากจะกินฮอสไม่ได้ บางประเทศใช้ตาราง 10 x 10 ช่อง และมีหมากข้างละ 20 ตัว เป็นต้น
  • หมากฮอสสากล มีการแข่งขันในระดับประเทศและต่างประเทศ ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก ผู้เล่นจะมีหมากข้างละ 12 ตัว ฝ่ายสีดำจะเป็นผู้เริ่มเล่นก่อน เมื่อฝ่ายใดเข้าฮอส ก็จะนำหมากสีเดียวกัน วางซ้อนกันอีก 1 ตัว ฮอสจะเดินหน้าหรือถอยหลังกี่ช่องก็ได้ แต่ได้แค่แนวทแยงแนวเดียวเท่านั้น
  • เซียนหมากฮอสที่เก่ง ๆ สามารถเดินเพื่อให้เสมอกันกี่กระดานก็ได้ (ยกเว้นต้องการเดินเสี่ยงเพื่อเอาชนะ) ในการแข่งขันหมากฮอส จึงเต็มไปด้วยผลการเล่นที่เสมอกัน จึงได้ฉายาว่าเป็น "กีฬาแห่งการเสมอกัน" ครับ
  • หมากฮอสไทย ดัดแปลงมาจากหมากฮอสสากล โดยลดเบี้ยเหลือฝ่ายละ 8 ตัว การแปรรูปมีน้อยกว่า ถ้าฝึกจนเชี่ยวชาญแล้วมาแข่งกัน ผลก็มักจะเสมอกันครับ 

ส่งท้าย

  • หมากฮอส ในแง่ของกีฬาสากล ถึงแม้จะไม่ได้รับความนิยมเท่าหมากรุก แต่ก็ให้ความสนุกสนานดีครับ โดยเฉพาะการเล่นในครอบครัว เพื่อนฝูง
  • หมากฮอส เป็นเกมส์ฝึกสมอง ประลองปัญญา ฝึกสมาธิ เล่นได้ตั้งแต่เด็กๆ ยันแก่ครับ  แถมได้อารมณ์แบบที่การเล่นเกมส์หน้าจอให้ไม่ได้ครับ ลองวางสมาร์ทโฟนแล้วลองดูสิครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น