ตอนเด็กๆ เวลาเรียนสุขศึกษา เมื่อคุณครูสอนเรื่องแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย พอถึงเรื่องของธาตุสังกะสีทีไร ผมก็นึกถึงเจ้าแผ่นสังกะสีเป็นลอนๆ ที่เขาเอาไว้ทำหลังคาทุกที ตอนนั้นคิดว่าจะกินเข้าไปยังไง
สังกะสี : Zinc
- เป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุที่คนเราต้องการในปริมาณน้อย (Trace Minerals) แต่ขาดไม่ได้
- ประมาณ 90%ของสังกะสีในร่างกายเราจะอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ ที่เหลือจะอยู่ที่ ตับ ตับอ่อน และในเลือด
- สังกะสี ทำหน้าที่เป็นตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์เอนไซม์ในร่างกายที่มีมากกว่าร้อยชนิด ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้ เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิด ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา
ประโยชน์
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคหวัด
- มีการศึกษาที่พบว่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีปริมาณของสังกะสี ต่ำกว่าคนปกติ ดังนั้นการได้รับสังกะสี ในปริมาณเพียงพอจึงช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้
- ช่วยคงสภาพการรับรู้รส กลิ่น ของผู้สูงอายุ
- ช่วยกระตุ้นให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
- มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์ม และฮอร์โมนเพศชาย
- ช่วยป้องกันผมร่วง เนื่องจากสังกะสีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของเส้นผม
- ช่วยลดอาการอักเสบของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ปริมาณความต้องการสังกะสี
ปริมาณสังกะสี
ที่แนะนำให้กินในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)
- อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ 3 – 5 มิลลิกรัม/วัน
- อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ 10 มิลลิกรัม/วัน
- อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ 15 มิลลิกรัม/วัน
- สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 20 – 25 มิลลิกรัม/วัน
- สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ 25 – 30 มิลลิกรัม/วัน
แหล่งของสังกะสี
- ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ สังกะสี ขึ้นมาเอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารพวกเนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง นม อาหารทะเล และ ธัญพืช
- หอยนางรม เป็นแหล่ง สังกะสี ที่ดีมาก เนื่องจากดูดซึมได้ง่ายกว่าพวกพืชผัก
คนที่เสี่ยงต่อการขาดสังกะสี
- ผู้สูงอายุ พออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการดูดซึมสังกะสีของร่างกายเราก็จะลดลง
- หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีความต้องการสังกะสีมากขึ้นเป็นพิเศษ
- คนที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
- ผู้ที่มีภาวะติดเชื้อเรื้อรัง พิษสุราเรื้อรัง และตับแข็ง
- คนที่เป็นโรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึม สังกะสี ไม่ดี (มักพบในเด็กเล็ก)
อาการขาดสังกะสี
- เจริญเติบโตช้า ตัวเล็ก แคระแกรน
- การรู้รสลดน้อยลง เบื่ออาหาร
- มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย
- อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย
- ผมร่วง ผิวแห้ง เล็บเปราะ
- ผิวหนังอักเสบ บริเวณรอบปาก และอวัยวะเพศ ลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกจะผื่นแดง ต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
อาการเมื่อได้รับสังกะสีเกิน
- มีผลให้ระดับทองแดงในเลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ
- ถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี เกินกว่า 2 กรัมขึ้นไป จะระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน ทำให้ปวดท้อง และอาเจียนได้
ส่งท้าย
- ร่างกายต้องการสังกะสีเพียงเล็กน้อย(เมื่อเปรียบเทียบกับแร่ธาตุอื่น) แต่ห้ามขาด เพราะเป็นแร่ธาตุที่สำคัญยิ่งต่อกระบวนการทำงานทุกๆ ระบบของร่างกายครับ
หมายเหตุ
- ทุกเรื่องราวของ vcanfit ท่านสามารถแขร์ได้เลย ไม่มีหวง จะได้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้คนในวงกว้าง ครับ
- สงสัยเรื่องอาหาร/สุขภาพ อยากได้คำตอบแบบสั้นๆ ง่ายๆ ที่อิงหลักวิชาการ ลองเข้า Google พิมพ์ vcanfit เว้นวรรค แล้วพิมพ์ คำที่ต้องการหา (เป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้) จากนั้นกด ENTER ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น