แอบชิมเผือกหิมะเจ๊...ี เจ้าดังไปเกือบสิบชิ้น เลยบรรลุสัจธรรมว่าความอร่อยไม่เคยปราณีใคร แต่ก็หาข้ออ้างมาเข้าข้างตัวเองว่า กินเผือกช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้นะครับ
เผือก : TARO
- มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้
- ปัจจุบันมีการเพาะปลูกกันมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดีย และ แอฟริกา
- เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุหลายปี
- มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวเป็นรูปลูกข่างสีน้ำตาล ขนาดใหญ่ และมีหัวเล็กๆ อยู่ล้อมรอบ
- พันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา คือ เผือกหอม
ประโยชน์
- หัวเผือกสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารคาว เช่น ข้าวอบเผือก ข้าวต้มเผือก ซุปเผือกปลากะพง หัวปลาเผือกหม้อไฟ ขนมกุยช่ายไส้เผือก ฯลฯ
- อาหารหวานที่ทำจากเผือก มีมากมาย เช่น เผือกทอด เผือกรังนก เผือกหิมะ เผือกเชื่อม เผือกกวน เผือกฉาบ เม็ดขนุนเผือก แกงบวดเผือก ขนมหม้อแกงเผือก สังขยาเผือก ข้าวเหนียวปิ้งใส่เผือก ทำไส้ขนมต่างๆ ฯลฯ
- หัวเผือกเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง แต่ก็มี โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม วิตามินB1 วิตามินC และสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- เผือกมี ฟลูออไรด์ สูง ช่วยป้องกันฟันผุ
การเลือกซื้อหัวเผือก
- ควรเลือกหัวที่มีน้ำหนักมาก
- เนื้อแน่น
- ผิวเรียบ ไม่มีตำหนิ
- ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป
ข้อควรระวัง
- หัวเผือกเป็นอาหารที่ มีคาร์โบไฮเดรตสูง ควรกินแต่พอสมควร ไม่งั้นอ้วนแน่นอนครับ
- หัวเผือกมี ผลึกแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ซึ่งทำให้คันได้ จึงไม่ควรกินดิบ ๆ ต้องนำมาผ่านความร้อนให้สุกก่อน จึงจะกินได้
- บางคนจะอาจแพ้เผือกได้ (แม้จะสุกแล้ว) อาการที่พบ คือ คันในปาก ลิ้นชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น