ผมมาเป็นชาวปทุมธานีเต็มตัวได้ 5 ปี พบเจอกับ "มะตาด" อยู่เนืองๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลที่มะตาดออกลูกครับ
มะตาด
- มีถิ่นกำเกิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา มณฑลยูนนานเวียดนาม ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
- เป็นต้นไม้ที่คนไทยเชื้อสายรามัญนิยมปลูกไว้ในบ้าน เป็นไม้ประดับ อาหาร และยาสมุนไพร
- มะตาดเป็นพืชที่ปลูกง่ายเจริญเติบโตเร็ว ไม่มีศัตรูพืชรบกวน สามารถทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี
- มะตาด มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ขนาดกลาง ใบหยักสวย
- ผลมะตาดมีลักษณะกลมใหญ่ สีเขียวแกรมเหลือง มีรอยหยักรอบผล
- มักจะออกผลในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และแก่เต็มที่ในเดือนตุลาคม ผลที่แก่เต็มที่จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
- มะตาด มี 2 ชนิด ได้แก่ "ชนิดข้าวเหนียว" และ "ชนิดข้าวเจ้า"
- ชนิดข้าวเหนียว ผลจะสีเขียวจัด เนื้อนิ่ม และมีกากน้อย รสอร่อยกว่าชนิดข้าวเจ้า
- ชนิดข้าวเจ้ า เนื้อจะหยาบ และมีกากมากกว่า
ประโยขน์
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงาในบ้าน
- ผลมะตาดสุก ใช้กินเป็นผลไม้แก้กระหาย เรียกกันว่า “แอปเปิลมอญ”
- ผลนำมาทำแกงคั่ว หรือแกงส้ม ซึ่งนิยมใช้มะตาดข้าวเหนียว
- ผลดิบ เป็นสมุนไพรแก้ไข้ ขับเสมหะ
- มะตาดมีคุณสมบัติต้านเชื้อเเบคทีเรียเเละเชื้อรา
- นำเปลือกด้านในของผลมะตาด จะเป็นเมือกลื่น ชาวบ้านจะนำมาทาท้องเรือ เพื่อลดความเสียดทานระหว่างท้องเรือกับผิวน้ำ เชื่อว่าช่วยให้เรือเเล่นได้เร็วขึ้น
ส่งท้าย
มะตาดมีให้กินปีละครั้งในช่วงนี้ ถ้าพบเห็นเมนูแกงส้ม หรือแกงคั่วมะตาด ในร้านอาหาร(โดยเฉพาะแถวปทุมธานี) ก็อย่าพลาดนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น