คนเราถ้าเป็นน้ำครึ่งแก้ว ในแง่ของการเรียนรู้ กับในแง่ของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง จะมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร ลองมาดูพร้อมกันครับ
1. น้ำครึ่งแก้ว ในมุมมองของการเรียนรู้
- สมัยเมจิ ในญี่ปุ่น ราวปี ค.ศ.1868-1912 ท่านอาจารย์ นันอิน ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือมากในฝ่ายเซ็น ได้ต้อนรับอาจารญ์จากมหาวิทยาลัยผู้ฉลาดกราดเปรื่องท่านหนึ่ง มาหาเพื่อสนทนาเรื่องเซ็น
- ในการต้อนรับ มีพิธีการชงชาแบบเซ็น ท่านอาจารญ์นันอินได้เทชาลงถ้วยจนล้นแล้วล้นอีก ก็ไม่หยุดเท จนอาจารย์มหาวิทยาลัยท่านนั้นทักว่า "อาจารย์ น้ำชาล้นถ้วยแล้ว รินลงไปมากกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว"
- ท่าน นันอิน ได้กล่าวตอบว่า "เปรียบกับถ้วยชาใบนี้ หากในสมองท่านเต็มไปด้วย ความเชื่อ ความคิดเห็น และทฤษฏีต่างๆ ของท่านอยู่แล้ว จะศึกษาเซ็นอย่างไรได้"
- ในมุมมองของการเรียนรู้ เราควรเป็น น้ำครึ่งแก้ว ตลอดชีวิตครับ เพราะโลกสมัยนี้หมุนเร็ว มีความรู้ ความจริงใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทฤษฏีที่เคยเรียนมาเมื่อก่อน ตอนนี้ถือว่าผิด ใช้ไม่ได้ก็ตั้งเยอะครับ เราต้องเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ ตลอด ถึงจะทำงานร่วมกับคนอื่นได้
2. น้ำครึ่งแก้ว ในมุมมองของการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
- เรามักจะมองว่าน้ำมีครึ่งแก้ว ยังพร่องอยู่ ต้องหาน้ำมาเติมให้เต็ม
- เราจะรู้สึกว่า เรายังมีไม่พอ ต้องมีโน่นมีนี่เสียก่อน แล้วเราจะอิ่มจะเต็ม
- สิ่งที่เราไม่เคยตระหนักเลย คือ ไม่ว่าเราจะหาเงิน ทรัพย์สิน หรือความรักได้มากแค่ไหน น้ำในแก้วก็ไม่มีวันเต็ม เพราะความอยากในใจเราไม่เคยหยุด แก้วของเราจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ หามาเท่าไหร่ก๋ไม่เต็ม
- เมื่อก่อนที่เราเคยคิดว่า ถ้าเรามีเงินล้าน เราจะมีความสุข พอเรามีเข้าจริงๆ ปริมาณความต้องการ ของเราก็โตรุดหน้าไป จนเราต้องหาเพิ่มตลอดเวลา แก้วน้ำหรือความอยากในใจเราไม่เคยหยุดโต หามาเติมเท่าใหร่ก็ไม่เคยเต็ม
- เคล็ดลับก็คือ เราต้องเรียนรู้ที่จะปรับขนาดของแก้วให้พอดีกับน้ำ ให้ใจเรามีความสุข มีความพึงพอใจกับขณะนี้ เดี๋ยวนี้ โดยไม่ต้องรออนาคต
- การลดขนาดของแก้ว ทำได้โดย ตามดูความรู้สึกนึกคิดของเรา ไม่ให้ความอยากครอบงำได้ แค่นี้เราก็จะเป็นแก้วที่อิ่มเต็มพอดี มีความสุขครับ
- ในมุมมองของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เราจะเติมน้ำ(ทรัพย์สิน เงินทอง ความรัก)ให้เต็มพอดีในแก้ว โดยฝึกตัวเองให้รู้จักพอ ไม่ขยายขนาดของแก้ว(ความต้องการต่างๆในชีวิต)ไปเรื่อยๆ ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น