พระมหากรุณาธิคุณ..ล้นฟ้าล้นแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยความเป็นอยู่ของราษฎร ในด้านการบริโภคอาหารและน้ำดื่ม
การดำรงชีวิต สภาวะแวดล้อม และการป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จึงโปรดให้ริเริ่มกิจการหลายอย่างเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน
- พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรกิจการไฟฟ้าในต่างประเทศ และทรงเห็นประโยชน์ที่จะเกิดจากการมีไฟฟ้า จึงทรงริเริ่มให้มีการใช้ไฟฟ้าขึ้นในพระราชอาณาจักร ในปี พ.ศ.2427
- พ.ศ. 2427 พระองค์ทรงดำริที่จะสร้างโรงพยาบาล เพื่อใช้เป็นที่รักษาประชาชน แบบแพทย์แผนใหม่ ที่ทันสมัยเหมือนในต่างประเทศ เนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านนั้น เมื่อเกิดโรคระบาดจะไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย
- วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 เปิดดำเนินการโรงพยาบาลวังหลัง ขึ้นที่บริเวณพระราชวังหลัง ต่อมาพระราชทานนามใหม่ว่า "ศิริราชพยาบาล"
- พ.ศ.2432 ทรงโปรดให้มีการสอนวิชาแพทย์แผนใหม่ และจัดตั้งราชแพทยาลัย โดยมี นพ.จอร์จ แม็คฟาแลนด์(พระอาจวิทยาคม) เป็นผู้อำนวยการ ภายหลังมีแพทย์ประจำตามหัวเมือง และมีการแพทย์ทหารด้วย
- พ.ศ.2436 ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม ขึ้นเพื่อ จัดซื้อเวชภัณฑ์ ส่งไปช่วยผู้บาดเจ็บในการรบช่วงกรณีพิพาท ร.ศ.112 ซึ่ง สภาอุณาโลมแดง ก็คือ สภากาชาดไทย ในปัจจุบัน
- พระองค์ทรงเห็นว่าประเทศไทยควรมีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค เนื่องจากการใช้น้ำในแม่น้ำลำคลองอาจก่อให้เกิดโรคระบาดได้
- พ.ศ. 2440 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตรา "พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116" โดยมีกระทรวงนครบาลเป็นผู้ดำเนินการ และโปรดให้ตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้น ให้กระทรวงมหาดไทยจัดการสุขาภิบาลในหัวเมืองต่างๆ
- ทรงออกประกาศ และตรากฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลหลายฉบับ เช่น ประกาศจัดการทำความสะอาดพระนคร ประกาศเกี่ยวกับการเผาศพ การห้ามทิ้งซากสัตว์ในที่สาธารณะ การทำลายขยะมูลฝอย ฯลฯ
- ทรงมีพระราชดำริว่า สิ่งเสพติดให้โทษทั้งหลายล้วนนำความเสื่อมโทรมมาสู่ร่างกาย และเป็นความเสียหายอย่างยิ่งแก่บ้านเมือง จึงทรงโปรดให้ออกประกาศห้ามสูบฝิ่นฯ และ ยกเลิกโรงฝิ่นในกรุงเทพฯ ได้ถึง 400 กว่าแห่ง เมื่อถึงปลายรัชกาล
- พ.ศ.2452 ทรงโปรดให้ทำการเก็บกักน้ำที่คลองเชียงรากน้อย แขวงเมืองปทุมธานี และขุดคลองประปาสำหรับส่งน้ำเข้ามาถึงคลองสามเสน รวมทั้งฝังท่อจ่ายน้ำ เกิดเป็นการประปาขึ้น โดยกิจการนี้สำเร็จลงในสมัยรัชกาลที่ 6
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น