วันที่ 14 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันผู้บริจาคโลหิตโลก” หรือ World Blood Donor Day โดยเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล แลนด์ สไตเนอร์ ชาวออสเตรีย ผู้ค้นพบหมู่โลหิตระบบ ABO ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งทางการแพทย์
หมู่เลือด (Blood Group)
- ปัจจุบันมีระบบหมู่โลหิตอยู่ 32 ระบบ
- ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญมากๆ มี 2 ระบบ คือ ระบบ ABO (เอบีโอ) และ ระบบ Rh (รีซัส)
- ระบบ ABO จะแบ่งหมู่โลหิตเป็น หมู่ A B AB และ O
- ระบบ Rh จะแบ่งเป็น Rh + และ Rh- (อ่าน อาร์เอชบวก และ อาร์เอชลบ)
การให้ และ รับโลหิต
- ผู้รับ กับ ผู้ให้ ต้องมีหมู่โลหิตระบบ ABO ที่เข้ากันได้ ดังนี้
ผู้รับ
|
ผู้ให้
|
A
|
A , O
|
B
|
B , O
|
AB
|
A ,
B , AB
, O
|
O
|
O
|
- ที่สำคัญ ต้องดูว่า ผู้รับ และผู้ให้ มีหมู่ Rh ที่เหมือนกันด้วยครับ
คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
- มีอายุ 17 – 60 ปี
- มีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
- ไม่เคยเป็นโรคมาลาเรียในระยะ 3 ปี
- ไม่เคยเป็นโรคตับอักเสบ
- ไม่ควรบริจาคหลังผ่าตัดในเวลา 6 เดือน
- ผู้เคยรับโลหิต งดบริจาค 1 ปี
- งดสูบบุหรี่ก่อนบริจาค 12 ชั่วโมง
- ไม่กินยาแก้อักเสบก่อนบริจาค 1 สัปดาห์
- ไม่ได้รับวัคซีนภายใน 14 วัน เซรุ่ม ภายใน 1 ปี
- ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
- นอนหลับสนิท ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
- ไม่ทำการเจาะหู สัก หรือ ฝังเข็ม ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา
- ไม่มีประวัติติดยาเสพติด หรือเสพยาโดยใช้เข็มฉีดยา
- ไม่เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์
- สตรี ไม่อยู่ระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือ ให้นมบุตร
- ไม่ได้คลอดบุตร หรือ แท้งบุตร ภายใน 6 เดือน ที่ผ่านมา
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
การปฏิบัติตนหลังบริจาคโลหิต
- ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 2 วัน
- งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อ
- ถ้าทำงานที่ใช้แรงมาก ควรพักงาน 1 วัน
- หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง
- กินยาเม็ดธาตุเหล็กที่ได้รับ
ปิดท้าย
- “เราจะไม่รู้หรอกว่า โลหิตสำรอง สำคัญแค่ไหน จนกว่า ตัวเรา หรือ คนที่เรารัก จะต้องการใช้มัน” ดังนั้น มาร่วมบริจาคโลหิตกันเยอะๆ ครับ วันที่จำเป็นต้องใช้ จะได้ไม่ขาดแคลน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น