วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

Khat : ผิดกฏหมาย


ช่วงนี้ เรื่องของ Khat เป็นเหมือน Breaking News แต่พอเห็นข่าวแล้ว ส่วนใหญ่จะต้องถามว่า "มันคือไร...หว่า..?"

Khat (Chat)

  • ชื่ออื่น ได้แก่ Arabian tea, qat, gat และ miraa
  • พืช Khat  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Catha edulis  
  • มีถิ่นดั้งเดิมในประเทศโซมาเลีย เยเมน เคนยา และ เอธิโอเปีย
  • ปัจจุบัน พบในแถบอาหรับใต้ และ แอฟริกาตะวันออก 

ทำไมผู้คนถึงสนใจ Khat ?

  • สารสำคัญที่พบในพืช Khat สด คือ คาทิโนน (Cathinone) และ คาทีน (Cathine)  
  • Cathinone และ Cathine มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ลดความอยากอาหาร และทำให้เคลิบเคลิ้มเป็นสุข(Euphoria) 
  • Cathinone  มีความแรงมากกว่า Cathine ถึง 10 เท่า 
  • 48 ชั่วโมงภายหลังการตัดออกจากต้น สาร Cathinone จะสลายตัว คงเหลือแต่สาร Cathine 
  • นิยมเสพใบสด Khat  เนื่องจากมีสาร Cathinone อยู่มาก และมักจะห่อใบ Khat สดด้วยใบตองเพื่อคงความสดเอาไว้

การนำใปใช้ในทางที่ผิด   

  • เคี้ยวใบสด ใช้ใบแห้งชงชา หรือ ผสมอาหาร
  • เมื่อกิน(เสพ)พืช Khat ความดันโลหิตจะสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งฤทธิ์กระตุ้นประสาทจะอยู่นานประมาณ 90 -180 นาที (บางรายฤทธิ์อาจอยู่ได้นานถึง 24 ชั่วโมง) 
  • เมื่อเสพพืช Khat ไปนานๆ  อาจทำให้เกิดอาการหวาดระแวง ประสาทหลอน เกิดความผิดปกติของระบบประสาท การหายใจ การไหลเวียนเลือด และ ระบบการย่อยอาหาร ได้ครับ

กฏหมายควบคุม

  • พืช Khat เป็นที่นิยม และ ถูกควบคุมตามกฎหมายในหลายประเทศ  เช่น เยเมน เอธิโอเปีย โซมาเลีย 
  • ออสเตรเลียให้นำเข้าพืช Khat ได้โดยไม่ต้องได้รับใบอนุญาต แต่จำกัดปริมาณไม่เกิน 5 กิโลกรัมต่อคน ต่อเดือน  เพื่อใช้เฉพาะตัวเท่านั้น 
  • พืช Khat เป็นสิ่งผิดกฎหมายในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ นอรเวย์ เยอรมันนี  
  • ประเทศไทย ควบคุมสารที่พบในพืช Khat  คือ  
    • คาทิโนน (Cathinone) จัดเป็น วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 
    • คาทีน (Cathine) จัดเป็น วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2  ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518  
  • ปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีการนำ Cathine มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ครับ

ส่งท้าย

  • พี่ไทยเราไวนักกับเรื่องกระบวนการทางเคมีของพวกสารเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท กลัวว่าไม่นาน อาจมีพวกสูตรแปลกๆ ออกมา โดยมี Khat เป็นส่วนผสม ครับ

ขอขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น