หญ้าหวาน เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า โดยไม่มีแคลอรี่เลย และพอเอาหญ้าหวานมาสกัดได้สารชื่อ สตีวิโอไซด์ (Stevioside) ปรากฏว่ามีความหวานมากกว่าน้ำตาล 100-300 เท่า แถมยังทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส
ทำไมต้องเป็นหญ้าหวาน?
- สำหรับคนติดหวาน แต่ไม่อยากอ้วน หรือมีภาวะโรคในร่างกายที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำตาล การใช้พวกสารเพิ่มความหวานสังเคราะห์ชนิดต่างๆ ก็พอจะช่วยให้ชีวิตไม่จืดชืดเกินไปนัก ปกติผมก็ใช้ ซูคราโรส แทนน้ำตาล เวลากินกาแฟอยู่แล้ว เนื่องจาก ณ วันนี้ ซูคราโลส นับว่ามีความปลอดภัยสูงอยู่ แม้จะเป็นสารสังเคราะห์ก็ตาม แต่พอมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติมากกว่าอย่างหญ้าหวาน มันก็เลยน่าสนใจครับ
- หญ้าหวาน เป็นพืชล้มลุกระยะยาว ลักษณะคล้ายต้นโหระพา มี ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แถบบราซิล และปารากวัย
- ความหวานที่ได้จากหญ้าหวานจะ คล้ายคลึงกับความหวานจากน้ำตาลทรายมาก ครับ
- ชาวพื้นเมืองปารากวัย ใช้สารหวานนี้ ผสมกับชากินมากว่า 1500 ปี แล้ว
- มีการนำมา ปลูก และเผยแพร่ในไทยเป็นระยะเวลามากกว่า 20 ปี
- ญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525
- หญ้าหวานเป็นพืชที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวาน ชื่อ สตีวิโอไซท์ (Stevioside) มี ความหวานมากกว่าน้ำตาล 100-300 เท่า
- ปัจจุบัน เมืองไทยเราปลูกหญ้าหวานได้ทางภาคเหนือ และ มีสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ ไทยเราสกัดสาร สตีวิโอไซด์ได้เอง และ ในไทยก็มีโรงงานผลิตสารตัวนี้แล้วด้วย
หญ้าหวานปลอดภัยไหม?
- นักวิจัยได้ทดลองการเกิดพิษของสารสกัดสตีวิโอไซด์ ว่ามีพิษหรือไม่ และควรกินเท่าใดจึงปลอดภัย
- คำตอบ คือ สตีวิโอไซด์ มีความปลอดภัยสูงมาก โดย มีค่าสูงสุดกินได้ถึง 7.938 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งกินได้สูงมาก (คนทั่วไป แค่ 2 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก. ก็หวานมากแล้ว)
อ้างอิง ฝ่ายวิชาการ สถาบันการแพทย์แผนไทย
http://ittm-old.dtam.moph.go.th/data_all/herbs/herbal09.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น