วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นิ้วล็อค : Trigger Fingers


      นิ้วล็อค เกิดจากการใช้งานของนิ้วมือมาก และนาน ในท่างอนิ้วมือ และกำมือ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นงอนิ้วมือ 

นิ้วที่มักจะเป็นนิ้วล็อค

  • ได้แก่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และ นิ้วกลาง  
  • มักจะเกิดกับมือข้างถนัด 
  • อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า หรือเมื่อกำสิ่งของนานๆ

อาการ

  • ารอักเสบจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น จึงทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไปได้ไม่สะดวก เกิดการขัด เจ็บ และสะดุดเวลางอ และเหยียดนิ้วมือ 
  • เมื่อมีอาการมากขึ้นจะพบว่า เวลางอนิ้วเข้ามาจนสุด จะมีเสียงดัง "กึ้ก" แล้วนิ้วจะติดงออยู่อย่างนั้น ไม่สามารถยืดออกเองได้ อาจต้องใช้มืออีกข้างมาช่วยง้างให้เหยียดออก (อาจได้ยินเสียง "กึ้ก" ซ้ำอีกครั้งตอนเหยียดออก) 
  • มีความเจ็บปวด ที่โคนนิ้ว 
  • อาจเกิดขึ้นกับนิ้วใด ๆ ก็ได้
  • อาจเกิดพร้อมกันได้หลายนิ้ว

ใครมีโอกาศเป็นบ้าง

  • แม่บ้าน/พ่อบ้าน (ที่ถือถุงหิ้วของ) 
  • แม่ครัว/พ่อครัว (จับมีด ด้ามกะทะ นานๆ) 
  • ช่าง (ใช้กรรไกร ค้อน ไขควง) 
  • ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ (ใช้แป้นพิมพ์นานๆ)
  • นักกีฬากอล์ฟ แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง (จับด้ามไม้แน่น และนาน)
  • สตรีมีครรภ์ เกิดจากการที่ปลอกหุ้มเอ็นบวมน้ำ ในขณะตั้งครรภ์

วิธีป้องกัน


  • หลีกเลี่ยงการงอนิ้วมือ กำ บีบ หิ้วของติดต่อกันเป็นเวลานาน  
  • ออกกำลังนิ้วมือ เพื่อป้องกันนิ้วล็อค ดังนี้

     ท่าที่ 1 ยืดกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย ทำ 6-10 ครั้ง/เซต

     ท่าที่ 
2 บริหารการกำ-แบมือ โดยฝึกกำ-แบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือ และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ หรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้ โดยทำ 6-10 ครั้ง/เซต

     ท่าที่ 
3 ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ-เหยียดนิ้วมือ โดยใช้ยางยืดช่วยต้าน แล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้านิ้วออก ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อยๆ ปล่อย ทำ 6-10 ครั้ง/เซต 



การรักษา

    ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

     สำหรับผู้ที่อาการไม่มาก นานๆ เป็นครั้ง

  • ใส่ finger splint เพื่อให้นิ้วลดการเคลื่อนไหวซึ่งจะทำให้เอ็นลดอาการบวมลง
  • การบริหารนิ้วมือ
  • หลีกเลี่ยงการกำ หรือถือของนานๆ

     สำหรับผู้ที่มีอาการมาก

  • ให้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร)
  • ฉีดยาพวก Steroid บริเวณรอบเส้นเอ็นในตำแหน่งที่อักเสบ 
  • การผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นที่หนาตัวบริเวณโคนนิ้วมือ ให้เปิดออก ซึ่งจะทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนที่ได้สะดวก
 ขอขอบพระคุณข้อมูล และภาพประกอบ จาก ผู้จัดการonline 29 ก.ค.53    http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000104284

หมายเหตุ 


  • ทุกเรื่องราวของ vcanfit ท่านสามารถแขร์ได้เลย ไม่มีหวง จะได้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้คนในวงกว้าง ครับ
  • สงสัยเรื่องอาหาร/สุขภาพ อยากได้คำตอบแบบสั้นๆ ง่ายๆ ที่อิงหลักวิชาการ ลองเข้า Google พิมพ์ vcanfit  เว้นวรรค แล้วพิมพ์ คำที่ต้องการหา (เป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้) จากนั้นกด ENTER ครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น