ตอนผมยังเป็นเด็ก คนชอบแทะเมล็ดแตงโมกัน ตามมาด้วยเมล็ดฟักทอง ตอนนั้นยังไม่นิยมแทะเมล็ดทานตะวันกัน แต่พอมีทุ่งทานตะวันที่ปลูกกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดทานตะวันก็เรียงหน้ากันออกมามากมาย
ประโยชน์
- นำมาอบ หรือคั่วให้แห้ง จะนำมากินเป็นอาหารว่าง หรือใช้ประกอบอาหารต่างๆ เช่น คุกกี้ทานตะวัน ทานตะวันแผ่น โรยในสลัด ยำ ฯลฯ
- เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
ประกอบด้วย โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส
อีกทั้งยังมีวิตามินต่างๆ ได้แก่ วิตามินA วิตามินB2 วิตามินK และ วิตามินE โดยเฉพาะวิตามินE มีสูงกว่าพืชอื่นๆ
- วิตามินE จะช่วยรักษาผิวหนังให้ดูสดใส ทำให้ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ บำรุงสายตา และเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง
- เมล็ดทานตะวันมีกรดไขมันไลโนเลอิค (linoleic acid) ซึ่งช่วยลดระดับทั้งคอเลสเตอรอลรวม และคอเลสเตอรอลร้าย (LDL) อันเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการแข็งตัวของเกล็ดเลือดอีกด้วย
- เมล็ดทานตะวันมีโปรตีนถึง 20.78 กรัม/100 กรัม ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก แถมคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ยังสามารถกินได้ด้วย
- เมล็ดทานตะวันในปริมาณ 15 กรัม (1 ช้อนโต๊ะ) ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี กรดไลโนเลอิค 4 กรัม กรดไขมันชนิดอิ่มตัว 0.5 กรัม เส้นใย 3 กรัม วิตามินB1 0.2 มิลลิกรัม และวิตามินE 5 มิลลิกรัม
วิธีการเลือกซื้อ
- การเลือกซื้อเมล็ดทานตะวันต้องเลือกที่ใหม่ๆ และไม่เหม็นหืน สังเกตจากเปลือกหุ้มเมล็ดต้องมีสีเทา ไม่เป็นสีเหลือง หรือสีน้ำตาล
- ต้องเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท อากาศเข้าไม่ได้ เมล็ดทานตะวันจึงจะไม่มีกลิ่นเหม็นหืน
ข้อควรระวัง
- เมล็ดทานตะวันปริมาณ 15 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงานราว 80 กิโลแคลอรี่ ถ้ากินในปริมาณมากๆ ระวังพลังงานเกินนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น