ลูกพลับ ที่ชาวจีนถือว่าเป็นผลไม้มงคล ในไทยเราก็ถือเป็นผลไม้ชั้นสูงเช่นกัน เนื่องจากต้องปลูกบนที่สูง 1,000 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ซึ่งพลับคุณภาพดี มักต้องการความหนาวเย็นในการเจริญเติบโต
ความเป็นมา
- พลับ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และจัดเป็นไม้ผลกึ่งร้อน(Sub-tropical fruit)
- ภาษาไทยเรียก พลับ พลับจีน หรือพลับญี่ปุ่น
- ชาวญี่ปุ่นเรียกผลพลับว่า “กากิ” (kaki)
- ต่อมา กากิ กลายเป็นชื่อสามัญของพลับที่เรียกกันทั่วไป
- พลับมีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน แต่กลับมีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ก่อนปี ค.ศ. 1900 kaki เป็นผลไม้ที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น
- ปัจจุบันพบการปลูกพลับเพื่อการค้าใน แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อิตาลี บราซิล อิสราเอล ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์
- ในเมืองไทย สันนิษฐานว่าอาจจะมีการนำเมล็ดพลับมาจากประเทศพม่าเข้ามาปลูกเมื่อประมาณ 60 ปี เป็นพลับที่มีรสฝาด และผลขนาดเล็ก
- พ.ศ.2512 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นำพันธุ์พลับมาจากต่างประเทศ (ร่วมทำงานวิจัยกับมูลนิธิโครงการหลวง) โดยปลูกทดสอบที่สถานีวิจัยดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทของพลับ
ทางพืชสวน แบ่งประเภทของพลับ เป็น- พลับฝาด (Astringent)
- พลับหวาน (Non-astringent)
พลับทั้ง 2 พวกดังกล่าวยังแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2
ชนิดคือ
- ชนิดสีเนื้อคงที่ (Pollination constant) ถ้าเป็นพลับประเภทไม่ฝาด ก็สามารถกินได้เลย ในขณะที่ผลยังแข็งอยู่ครับ
- ชนิดสีเนื้อเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับการผสมเกสร(Pollination variant)
- พลับชนิดนี้ถ้าไม่มีการผสมเกสร สีของเนื้อจะเป็นสีเหลืองอ่อน และมีรสฝาด
- ถ้ามีการผสมเกสร (มีเมล็ดเกิดขึ้น) สีของเนื้อจะเปลี่ยนจากสีเหลืองอ่อน ไปเป็นสีน้ำตาลแดงและไม่มีรสฝาด ยิ่งมีเมล็ดมากก็จะหวานมากครับ
สายพันธุ์พลับ
พันธุ์ฟูยู (Fuyu)
- เป็นพลับหวานชนิดสีของเนื้อคงที่
- เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันทั่วโลกในปัจจุบันนี้
- ลักษณะผลกลมแต่ค่อนข้างแบนเล็กน้อย ขนาดปานกลางจนถึงใหญ่ สีเหลืองสดจนถึงอมส้ม
พันธุ์ซือโจ
หรือ ซิชู หรือ พี 2
(Xichu or P2)
- เป็นพลับฝาดชนิดสีเนื้อคงที่
- ลักษณะผลค่อนข้างแบน ขนาดเล็กกว่าพันธุ์ฟูยู
- ผลอาจมีรูปร่างกลมจนถึงเป็นเหลี่ยม เนื้อสีเหลืองอ่อนๆ
- เป็นพันธุ์ที่มีความแข็งแรง โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง
- เป็นพันธุ์ที่เหมาะกับการปลูกในประเทศไทยในปัจจุบัน
พันธุ์ไฮยาคัม
(Hyakume)
- เป็นชนิดสีเนื้อเปลี่ยนแปลง
- การเจริญเติบโตค่อนข้างช้า
- ผลค่อนข้างยาวคล้ายรูปหัวใจ ขนาดค่อนข้างใหญ่ บริเวณส่วนล่างของผลจะมีรอยเส้นเป็นขีดสีดำ สีผิวของผลไม่ค่อยสวย แต่คุณภาพในการกินสดดีมาก
พันธุ์นูซิน (Niu Scin)
- เป็นพลับฝาดชนิดสีเนื้อคงที่
- ผลคล้ายรูปหัวใจ แต่อาจจะยาวกว่าพันธุ์ไฮยาคัมเล็กน้อย
- ขนาดค่อนข้างใหญ่ ผลเมื่อแก่มีสีเหลืองส้ม
ประโยชน์
- กินผลสด
- ทำเป็นพลับแห้ง
- ลูกพลับสุกมีฤทธิ์เย็น รสหวานอมฝาด มีสรรพคุณแก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้อาเจียน บำรุงลำไส้ ปอด และม้ามได้
- น้ำตาลจากพลับนำไปเป็นสารให้ความหวานในการประกอบอาหาร
- สารประกอบของพวก “แทนนิน” ที่ทำให้พลับมีรสฝาด สามารถนำมาสกัดเป็นสารที่ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ยา และเครื่องสำอางค์
- เนื้อไม้จากต้นพลับ ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หัวไม้กอล์ฟ
คุณค่าทางอาหาร
- ลูกพลับ อุดมด้วยวิตามินAและวิตามินC ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
- ผลแห้ง มีวิตามินA สูงกว่าผลสดถึง 3 เท่า
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ซึ่งช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
ข้อควรระวัง
ไม่ควรกินลูกพลับขณะท้องว่าง เนื่องจากสารประกอบในลูกพลับจะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ ทำให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินอาหารได้ขอขอบพระคุณข้อมูล จาก สถานีวิจัยดอยปุย จังหวัด เชียงใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น