เรามักพูดกันติดปากว่า "ทำบุญทำทาน" เนื่องจากการทำบุญ และการทำทาน นั้นบางทีก็ยากที่จะขีดเส้นแบ่งกันอย่างชัดเจน แต่ผลที่ได้รับจากทั้งการทำบุญและทำทานนั้น รับรองได้ว่าจะทำให้เรามีจิตใจที่สดชื่น ผ่องใส สุขภาพร่างกายก็พลอยดีขึ้นไปด้วย ตามหลักที่ว่า "จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" นั่นแหละครับ
ทำบุญ
- บุญ แปลว่า การกระทำดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา
- บุญ หมายถึง การทำให้หมดจดจากมลทินเครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ
- บุญ คือ การทำความดี โดยการประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ
ทำทาน
- ทาน แปลว่า การให้
- ทาน คือ การให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา
สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ
เป็นหลักใหญ่ของการทำบุญ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ มี 3 อย่าง ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ เช่นการตักบาตร
ถวายสังฆทาน บริจาคทรัพย์ เป็นต้น ถือเป็นจาคะหรือการให้ ซึ่งนับเป็นบุญอย่างหนึ่ง
2. ศีล คือ การรักษาความสำรวมทางกาย วาจา ใจ การรักษาศีลสำหรับฆราวาสได้แก่ ศีล 5
และอุโบสถศีล(ศีล 8)
3. ภาวนา
คือ การอบรมจิตให้เกิดความสงบ(สมถะภาวนา) และการฝึกปัญญาให้มีความรู้ความเข้าใจในความเป็นจริง(วิปัสสนาภาวนา)
สรุปง่ายๆ
1. จะเห็นได้ว่าไม่มีการขีดเส้นแบ่งระหว่างการทำบุญกับการทำทาน
เพราะ ทานเป็นข้อหนึ่งของการทำบุญ
2. การทำบุญ เปรียบได้กับการสร้างคุณภาพของจิตใจให้ดีขึ้น ด้วยการเอาชนะกิเลสทั้ง 3 (โลภ โกรธ หลง)
ที่มีอยู่ในสันดานของมนุษย์ โดย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น