บรรดาสาวกผู้นิยมความขาวทั้งหลาย อ่านหัวข้อแล้วอย่าเพิ่งร้องยี้!!นะครับ ไม่ได้ให้ท่านไปอาบแดดแบบเอาเป็นเอาตายจนตัวดำปี๋กันหรอกครับ
- เรื่องนี้มีที่มาจากงานวิจัยเรื่อง Timing and Intensity of Light Correlate with BodyWeight in Adults โดย Phyllis C. และคณะ
- งานวิจัยนี้มีการทดลองกับอาสาสมัครชายหญิง 54 คน(ชาย 26 คน หญิง 28 คน) เป็นระยะเวลา 7 วัน โดยบันทึกรายละเอียดของการอยู่กลางแจ้ง การนอน และ อาหารที่กิน
- ผลการวิจัยผมขอสรุปอย่างย่อๆได้ว่า การตากแดดตอนเช้า มีผลให้ดัชนีมวลกาย(BMI)ลดลง
- คาดว่า การที่เราโดนแดดยามเช้าวันละ 20-30 นาที มีส่วนกระตุ้นการทำงานของนาฬิกาในร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ให้เป็นไปอย่างสมดุล จะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำหนักตัวได้
- ถ้าเราไม่ได้รับแดดตรงเวลากับนาฬิกาในร่างกาย ซึ่งคอยควบคุมการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ก็จะทำให้เราอ้วนขึ้น
- มีอีกทฤษฎีที่อธิบายว่า ทำไมแสงแดดถึงทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ คือ Brobeck's theory of heat-production แปลเป็นไทยอย่างง่ายๆ ได้ว่า ทฤษฎีของ Brobeck ในเรื่องของการผลิตความร้อน ทฤษฎีนี้ อธิยายว่า เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เราจะรู้สึกหิวน้อยลง เมื่อหิวน้อย ก็กินน้อย น้ำหนักก็ลดลงครับ (ซึ่งการตากแดดก็ทำให้อุณหภูมิในร่างการเราสูงขึ้นครับ)
- เอาเป็นว่า การออกไปโดนแดดอ่อนๆ ยามเช้า เป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ ครับ นอกจากจะช่วยลดความอ้วนแล้ว ยังทำให้ร่างกายเราสามารถสังเคราะห์วิตามิน D ขึ้นมาได้ด้วย ที่สำคัญคือ ได้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง ไม่ว่าจะ เดิน วิ่ง ขี่จักรยานฯลฯ ทุกกิจกรรมนั้นนอกจากจะทำให้ร่างกายเราแข็งแรงไม่อ้วนแล้ว ยังทำให้จิตใจเบิกบาน ซึ่งจะช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัวได้ด้วยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น