เชื่อว่าหลายคนสับสนเรื่อง แคลอรี่ กับ กิโลแคลอรี่ แน่นอน แต่ก่อนผมก็งงครับ เวลาอ่านบทความ หรือ ฉลากอาหาร มาคลายข้อสงสัยกันดีกว่าครับ
หน่วยวัดฺพลังงาน เป็น แคลอรี่ คิดขึ้นโดย ศ.นิโคลัส เคลเมนต์(Nicolas Clement) ในปี ค.ศ.1824 การวัดพลังงานเป็นหน่วยแคลอรี่ จะมี 2 แบบ คือ
- ทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับพวกพลังงานจากอาหาร แคลอรี่ (cal) คือ พลังงานที่ต้องใช้เพื่อทำให้อุณหภูมิของน้ำ 1 กรัม เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส (** สังเกตุให้ดีนะครับ ว่า cal ใช้ c เล็ก **)
- ทางด้านอาหารและโภชนาการ จะใช้ Dietary Calorie ในการบอกพลังงานของอาหาร ซึ่ง แสดงด้วยสัญญลักษณ์ Cal (ที่ขึ้นต้นด้วย C ตัวใหญ่) โดยที่ 1 Cal = 1,000 cal = 1 kcal (กิโลแคลอรี่) ---> **ในเรื่องของอาหารเราจะใช้แบบนี้เท่านั้นครับ**
- แล้วเจ้าแคลอรี่เกี่ยวข้องกับร่างกายเราอย่างไร?
ถ้าให้ พลังงานที่ร่างกายได้รับจากการกินอาหาร = A และ พลังงานที่ร่างกายต้องใช้ = B
คิดง่ายๆ ได้ว่า
- เมื่อ A > B เราจะอ้วน เพราะพลังงานส่วนเกินจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในส่วนต่างๆของร่างกาย
- เมื่อ A < B เราจะผอมลง เนื่องจากร่างกายต้องสลายไขมันที่สะสมไว้มาเป็นพลังงานชดเชยส่วนที่ขาด
- จากหลักคิดง่ายๆนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า ถ้าอยากลดหุ่นอันอวบอ้วน ก็ต้อง ลด A หรือ เพิ่ม B หรือ ทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน โดย
- ลด A ด้วยการควบคุมอาหาร ไม่ให้มีปริมาณแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวัน และถ้าต้องการลดความอ้วน หรือลดน้ำหนัก ก็ต้องจำกัดปริมาณแคลอรี่จากอาหารให้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ จะได้มีการสลายไขมันที่สะสมอยู่มาเผาผลาญเป็นพลังงาน เราก็จะผอมลงได้
- เพิ่ม B ด้วยการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังแบบคาร์ดิโอ หรือ แอโรบิค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น