ประวัติ การแกว่งแขน เป็นวิชาล้ำค่าตั้งแต่ พ.ศ.1070 สมัยราชวงศ์เหลียง พระโพธิธรรมชาวอินเดีย ซึ่งชาวจีนเรียกว่า ต๋าโม(TAMO) เข้ามาเผยแพร่ธรรมมะในเมืองจีน แต่ท่านสังเกตุเห็นว่า พระสงค์หลายรูปมีสุขภาพอ่อนแอ เอาแต่ฝึกจิตโดยไม่มีการดูแลสุขภาพร่างกายเลย ปล่อยให้ทรุดโทรม ท่านจึงคิดค้นท่าบริหารร่างกาย เขียนเป็นคัมภีร์ ไว้ 3 เล่ม ซึ่งการบริหารแบบแกว่งแขนก็รวมอยู่ในคัมภีร์เหล่านี้
การแกว่งแขนดีอย่างไร?
- ทำให้เลือดลมเดินดี ตามหลักแพทย์จีนถ้าเลือดลมเดินสะดวก สุขภาพย่อมดี ทั้งนี้ก็เนื่องจากบริเวณรักแร้เป็นเสมือนชุมทางของต่อมน้ำเหลือง เวลาเราแกว่งแขน รักแร้ขยับ ก็เป็นการกระตุ้นต่อมน้ำเหลืองให้ไหลเวียนดี
- ทำได้ง่ายมาก หัดนิดเดียวก็ทำได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องการอุปกรณ์อื่นใด
- สามารถลดการสะสมของไขมันในร่างกาย ถ้าเราคุมอาหารด้วยดีๆ จะสามารถลดพุง และน้ำหนักลงได้
- สามารถช่วยลดความเครียด ลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจ ความดัน และช่วยลดน้ำตาลในเลือดด้วย
เทคนิคการแกว่งแขนให้ได้ผลดี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำไว้ดังนี้ครับ
- ยืนตัวตรง เข่าไม่งอ ท้าทั้งสองข้างแยกห่างจากกัน ประมาณความกว้างหัวไหล่
- ปล่อยมือทั้งสองข้างลงตามธรรมชาติ ไม่เกร็ง นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปด้านหลัง
- จิกปลายนิ้วเท้าลงพื้น ส้นเท้าออกแรงเหยียบลงบนพื้นให้แน่น
- งอบั้นท้ายขึ้นเล็กน้อย
- ตามองตรงไปจุดใดจุดหนึ่ง ไม่คิดฟุ้งซ่าน ทำสมาธิให้รู้สึกอยู่ที่เท้า
- แกว่งแขนไปข้างหน้าเบาหน่อย ทำมุม 30 องศากับลำตัว แล้วแกว่งไปข้างหลังแรงหน่อย ทำมุม 60 องศากับลำตัว จะทำให้เกิดแรงเหวี่ยง นับเป็น 1 ครั้ง โดยปล่อยน้ำหนักมือให้เหมือนลูกตุ้ม และต้องสะบัดมือทุกครั้ง เพื่อให้เลือดหมุนเวียนไปถึงปลายนิ้ว
- ควรทำต่อเนื่องกันอย่างน้อยครั้งละ 5 นาที และค่อยๆ เพิ่มจนได้วันละ 30 นาที
เอกสารอ้างอิง :
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เอกสารอ้างอิง :
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น