การใช้เสียงเพลงมาเป็นส่วนประกอบในการออกกำลังกาย มีมานานแล้ว โดยเริ่มฮิตกันมากๆ ในยุค 70 ที่มีการใช้เสียงเพลงประกอบการเต้นแอโรบิค เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าเสียงเพลงส่งผลยังไงต่อการออกกำลังกาย
ผลของเสียงเพลงต่อการออกกำลังกาย
- ในปี ค.ศ.2003 นักวิจัยของมหาวิทยาลัย วิสคอนซิน พบว่า การออกกำลังในขณะที่ฟังเพลงที่มีจังหวะเร็ว จะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มความหนักหน่วงในการออกกำลังขึ้นไปได้อีกถึง 15%
- ในปี ค.ศ.2009 นักวิจัยจาก Institute for Sport and Exercise Sciences at Liverpool John Moores University ได้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 12 คน โดยให้ปั่นจักรยานอยู่กับที่ พร้อมฟังเพลงที่ตัวเองเลือก เป็นเวลา 30 นาที โดยผู้วิจัยจะแกล้งปรับจังหวะเพลงให้เร็วขึ้น และช้าลงอย่างละ 10% (โดยเจ้าตัวไม่รู้) ปรากฏว่าเมื่อให้เพลงเดิมมีจังหวะเร็วขึ้น ตัวอย่างจะออกกำลังได้มากขึ้น นานขึ้น ระยะทางรวมที่ได้จากการปั่นจักรยานมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจมากขึ้น และรู้สึกเพลิดเพลินกับการปั่นจักรยาน แต่เมื่อจังหวะมีความเร็วลดลง ระยะทางรวมที่ได้จะลดลง อัตราการเต้นของหัวใจก็ลดลง
- เพลงกระตุ้น (Stimulative music) ได้แก่ เพลง Rock, Rab, Hip-Hop หรือ Dance จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- เพลงผ่อนคลาย (Sedative music) ได้แก่ เพลง Jazz, Classic หรือเพลงบรรเลง จะช่วยลดการทำงานของหัวใจได้ และสามารถผ่อนคลายอารมณ์ ทำให้สมาธิดีขึ้น
- ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยบรูเนล ในอังกฤษ พบว่าเสียงเพลงที่มีจังหวะความเร็ว 125-140 บีทจะช่วยกระตุ้นร่างกายให้เกิดความตื่นตัวในการออกกำลังกายมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมพละกำลังอีกด้วย
- ตัวอย่างเพลงที่มีจังหวะความเร็ว 125-140 บีท เช่น
2.Calvin Harris feat Tinie Tempah เพลง Drinking from Bottle (128 บีท/นาที)
3.D′Banj เพลง oliver Twist (125 บีท/นาที)
4.Kesha เพลง Die Young (128 บีท/นาที)
5.Psy เพลง Gangnam Style (132 บีท/นาที)
6.Flo Rida เพลง Let It Roll (128 บีท/นาที)
7.will.i.am featuring Britney Spears เพลง Scream & shout (130 บีท/นาที)
8.Michael Jackson เพลง Beat It (140 บีท/นาที)
9.Lady Gaga เพลง Edge of Glory (128 บีท/นาที)
- นักวิจัยหลายท่านได้ศึกษาผลของเพลง พบว่าเพลงช่วยเพิ่มความอดทนของกล้ามเนื้อในการลุก-นั่ง (Sit-up) และ การดันพื้น (Push up)
- ในการเดินออกกำลัง เพลงจะช่วยให้การเดินมีอัตราที่เร็วขึ้น และเดินได้นานขึ้นกว่าคนที่ไม่ฟังเพลง
- การขี่จักรยานแล้วฟังเพลงไปด้วย มีผลไม่ชัดเจนซึ่งอาจเพิ่มหรือไม่เพิ่มระยะเวลาในการขี่ก็ได้ครับ
การเลือกเพลงในการออกกำลังกาย
- เลือกเพลงที่มีเสียงเบสหรือเสียงกลอง เป็นจังหวะที่หนักแน่น ชัดเจน หากต้องการกระตุ้นการทำงานของร่างกายควรเลือกเพลงที่มีจังหวะเร็ว ในทางตรงกันข้าม เราควรเลือกใช้เพลงที่มีจังหวะช้าถ้าต้องการผ่อนคลาย หรือสร้างเสริมสมาธิของร่างกาย
- เลือกเพลงที่เราร้องได้จะดีกว่าการฟังเพลงเพียงอย่างเดียว ซึ่งการร้องเพลงในขณะออกกำลังกายจะช่วยให้เรามีสมาธิ จดจ่อกับการร้องเพลง จนลืมความเหนื่อยไปชั่วขณะ แต่ก็ควรเลือกเพลงที่มีเนื้อร้องที่สร้างสรรค์ จะดีกว่าพวกเพลงอกหัก รักคุด
ปิดท้าย
เพลงมีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายของเรา โดยสามารถกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกคึกคัก หรือจะใช้เพลงช่วยในการผ่อนคลายร่างกายก็ได้ ขึ้นกับการเลือกใช้ของเราครับ
ขอขอบคุณข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น