เมี่ยงคำ snack แบบไทยๆ มีคุณค่าทางอาหาร และเป็นยาสมุนไพรในตัว ช่วย ขับลม บำรุงธาตุ แต่ก็มีบางอย่างที่ต้องระมัดระวังไว้ด้วยครับ นั่นคือ ใบชะพลู ผักพื้นบ้านที่อยู่คู่เมี่ยงคำมาตลอด
ใบชะพลูมีอะไรที่ต้องระวัง?
- ใบชะพลู มีปริมาณ กรดออกซาลิก (Oxalic acid) สูงมากถึง 1.088 กรัม ต่อใบชะพลู 100 กรัม (จำง่ายๆ ก็คือ มีกรดออกซาลิก 1 กรัม ในใบชะพลู 100 กรัม)
- เจ้า กรดออกซาลิก เมื่อเรากินเข้าไปในร่างกายแล้ว มันจะไปจับตัวรวมกับแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม โปแตสเซียม เกิดเป็น ผลึกออกซาเลต
- เจ้า ผลึกออกซาเลต เหล่านี้ จะเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้เกิด นิ่วในไต และ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- ปกติร่างกายจะมีความสามารถในการขับ ผลึกออกซาเลต ออกมาได้ด้วยตัวเอง ถ้าขนาดของผลึกยังเป็นก้อนเล็กๆ แต่ถ้าก้อนผลึกมีขนาดใหญ่ก็เกินความสามารถของร่างกายเราที่จะขับออกมาเอง เช่น ขนาดเท่าเมล็ดถั่ว ก็จะเกิดความเจ็บปวด ระคายเคือง เป็นอย่างมาก
- อาการที่พบ คือ ปวดท้องบริเวณสีข้าง เอว ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งต้องรักษาด้วยการสลายนิ่ว หรือ การผ่าตัด
- เพื่อความปลอดภัย(จากนิ่ว) มีการกำหนดไว้ว่า ไม่ควรกิน กรดออกซาลิก เกิน 0.378 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ตัวอย่าง เช่น ผมมีน้ำหนักตัว 64 กิโลกรัม ก็ไม่ควรกินกรดออกซาลิก เข้าไปเกิน 0.378 x 64 = 24.19 กรัม และเมื่อเอาไปเทียบกลับเป็นปริมาณใบชะพลูที่กินได้ คือ 24.19 x 100 = 2,419 กรัม หรือ 2.4 กิโลกรัม ดูตามนี้แล้วใบชะพลูน่าจะปลอดภัยมากนะครับ ใครจะกินเข้าไปได้ตั้ง 2 กิโลกว่าๆ ว่ากันว่าต้องกินสะสมกันทุกวัน และแทบทุกมื้อ
- การกินอาหารโปรตีน เช่นเนื้อสัตว์ ปลา จะช่วยลดการเกิดผลึกออกซาเลตได้ ดังนั้นเวลากินใบชะพลู เราก็ควรเพิ่มการกินเนื้อสัตว์ขึ้นด้วยครับ
- แต่อย่างว่าละครับ ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า ไม่แน่ผลึกออกซาเลต เม็ดนิดเดียวก็จริง แต่ดันไปอุด ขวางอยู่ตรงจุดสำคัญในไต และร่างกายขับออกเองไม่ได้ ก็มีปัญหาใหญ่ตามมาแน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น