เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็รู้ว่ากินน้ำมันปลาแล้วดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโอเมก้า-3 มีเฉพาะในปลาทะเล ซึ่งจริงๆ แล้ว ในปลาน้ำจืด ก็มีโอเมก้า-3 สูง ปลาน้ำจืดบางชนิด มีมากกว่าปลาทะเลด้วยซ้ำครับ
น้ำมันปลา (Fish Oil)
- เป็นน้ำมันที่ได้จากปลา และสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะน้ำจืด หรือน้ำเค็ม
- กรดไขมันของน้ำมันปลา ได้แก่ EPA และ DHA (คำเต็มเรียกยากๆ คือ Eicosapentaenic acid และ Docosacexaenoic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จัดอยู่ในกลุ่ม ไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3 fatty acids)
- ผลต่อสุขภาพที่สำคัญของน้ำมันปลา คือ บำรุงสมอง สายตา ลดความดันเลือด และลดไขมันในเลือด
- ปลาที่มีไขมันมาก ก็จะมีโอเมก้า-3 มาก ไม่ว่าจะเป็น ปลาแซลมอล ปลาทูน่า หรือปลาไทย ๆ ของเรา เช่น ปลาทู ก็มีกรดไขมันโอเมก้า-3 อยู่มากด้วยครับ
- ปลาน้ำจืดที่มีโอเมก้า-3 สูงสุด ได้แก่ ปลาสวาย และ ปลาช่อน
- ปลาสวายเนื้อขาว มีโอเมก้า-3 สูงถึง 2,570 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ปลาช่อน มี 870 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ขณะที่ ปลาแซลมอล มี 1,000-1,700 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
- จะเห็นได้ว่าปลาน้ำจืดราคาถูกอย่าง ปลาสวาย ก็มี โอเมก้า-3 สูงไม่ใช่เล่นนะครับ ปลาช่อนก็ไม่เบา
- น้ำมันปลามีมากที่ หัว พุง และ หนัง (คราวหน้าก็อย่าลอกหนังปลาทิ้งนะครับ เสียดาย)
- น้ำมันปลาหายไปได้โดยความร้อนจึง ไม่ควรใช้ความร้อนสูงมากๆ ในการปรุง
- การนึ่งปลา จะถนอมน้ำมันปลาได้ดีที่สุด
- ถ้า ต้ม ให้น้ำเดือดจัดๆ ก่อน ค่อยใส่ปลา และห้ามคน เพราะเนื้อปลาจะแตก น้ำมันปลาออกมา น้ำแกงจะคาว และต้องตามซดน้ำแกงให้หมดหม้อถึงจะได้โอเมก้า-3 ครบ
- ถ้า ปิ้งปลา ก็พยายามอย่าให้น้ำมันปลาไหล หยด ออกมาลงเตาไฟหมด
- การทอดปลา เป็นการปรุงอาหารจากปลาที่แย่ที่สุด เพราะเราจะเสีย โอเมก้า-3 ไปกับน้ำมันที่ทอดจนเกือบหมด
- ปลาดิบ มีโอเมก้า-3 อยู่มากที่สุด แต่ไม่คุ้มที่ต้องเสี่ยงกับโรคพยาธิครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น