กระเจี๊ยบเขียว อาหารสุขภาพอีกชนิดที่คนรักสุขภาพควรได้กินบ่อยๆ จริงๆแล้วปลูกง่ายมากๆ เลยด้วยครับ ถ้าใครพอมีพื้นที่ว่างเอาเม็ดลงปลูก ไม่กี่วันก็ชูใบสลอนแล้วครับ ไม่นานก็ได้กินฝัก
กระเจี๊ยบเขียว
- กระเจี๊ยบเขียว มีชื่ออื่น ๆ ว่า กระเจี๊ยบขาว มะเขือมอญ มะเขือทวาย ชื่อในภาษาอังกฤษคือ okra หรือ Lady’s Finger อินเดียเรียกว่า บินดี (Bhindi) ส่วนประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนเรียกว่า บามี (Bamies)
- กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชพื้นเมืองแถบศูนย์สูตรของทวีปแอฟริกา เอธิโอเปีย อียิปต์ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก และเอเชียใต้ นิยมปลูกกันมากทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น สำหรับประเทศไทยเราสามารถปลูกได้ทุกภาคครับ
- กระเจี๊ยบเขียวอุดมไปส่งท้ายสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เส้นใยอาหาร แคลเซียม โฟเลต ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก วิตามิน A วิตามินฺ B1 วิตามินฺ B2 และวิตามินC ในปริมาณพอสมควร
- กระเจี๊ยบเขียวประกอบด้วย เส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ และเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ เช่น เพ็กทิน (Pectin) และ เมือก (Mucilage)
- เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำของกระเจี๊ยบเขียว มีคุณสมบัติช่วยการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี ไม่มีอุจจาระคั่งค้าง
- เส้นใยที่ละลายน้ำได้มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษและขับถ่ายออกทางอุจจาระ ทำให้สารพิษไม่ตกค้างในลำไส้ และช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลที่จะเข้าสู่ร่างกาย
- สารเมือกพวก Pectin และ Mucilage จะช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ไม่ให้ลุกลามได้
- กระเจี๊ยบเขียวมีกลูตาไทโอน (Glutathione) ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยสร้างสารซ่อมแซมเซลล์ และทำปฏิกิริยาขจัดสารพิษที่เกิดในร่างกาย ซึ่งจะช่วยต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี
ทำอะไรกินได้บ้าง
กระเจี๊ยบเขียว นอกจากต้มจิ้มน้ำพริกแล้ว ยังสามารถนำไปทำเมนูต่างๆได้ ดังนี้ครับ
-
ยำกระเจี๊ยบเขียว
- สลัดกระเจี๊ยบเขียว
- กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอด
- แกงส้มกระเจี๊ยบเขียว
- แกงเลียงกระเจี๊ยบเขียว
- แกงจืดกระเจี๊ยบเขียวยัดไส้
- กระเจี๊ยบเขียวผัดผงกะหรี่
- กระเจี๊ยบเขียวต้มกะทิปลาสลิด
- กระเจี๊ยบเขียวผัดขิงอ่อน
ส่งท้าย
บางคนไม่ชอบกินกระเจี๊ยบเขียว เพราะความที่มันมีเมือกที่ลื่นๆ หลายคนจะรู้สึกว่าต้องกล้ำกลืนฝืนกิน แต่หารู้ไม่ว่า นั่นเป็นสิ่งมีประโยชน์เหลือหลายของกระเจี๊ยบเขียวเลยทีเดียวครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น