วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย..จริงหรือไม่?



ช่วงนี้ของปี มักมีการมอบโล่ห์ มอบใบประกาศเกียรติคุณ "บุคคลดีเด่น" ในองค์กร กัน ทำให้ผมนึกไปถึงเรื่อง "จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย..." ครับ

ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย..จริงหรือไม่?


"อันที่จริงคนเขาอยากให้เราดี 
แต่ถ้าเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้ 
จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย 
ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน" 
(พล.ต.หลวงวิจิตรวาทการ) 
  • ผมเข้าใจว่า ในบางยุคสมัย ความเก่ง ฉลาดปราดเปรื่อง ความรู้ความสามารถมากๆ อาจก่อให้เกิดภัยต่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติล้ำๆ เช่นนี้ได้ครับ 
  • เด่นมากๆ ก็เหมือนขึ้นไปอยู่บนเวทีให้ไฟส่องตลอด ถ้าพลาดบ้างนิดๆหน่อยๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ทันที ดังนั้นการไม่เด่นมากเลยดูจะปลอดภัยดีกว่า
  • ความเด่น(มากๆ)ของบุคคล จะต้องถูกประกาศออกมาเพื่อให้ทราบกันทั่ว ว่าใครชนะ(การแข่งขัน) ใครเป็นบุคคลดีเด่น(ขององค์กร) จะมาแอบให้โล่ห์ ถ้วยรางวัล หรือใบประกาศ กัน มันก็คงไม่ได้ ผู้ที่ได้รับตำแหน่งดีเด่นเหล่านั้น ก็ต้องรับสภาพที่คนจับจ้อง ต้องรักษามาตรฐานตัวเองให้ดีเข้าไว้
  • ส่วนตัวผมเอง เชื่อว่า คนเราไม่ได้ขี้อิจฉากันหนักหนา ขนาดเห็นใครเด่นกว่าตัวเองเป็นไม่ได้ แต่ก็คงมีอาการแอบอิจฉาบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติอยู่แล้ว (อย่าไปติดตากับภาพนางร้าย หรือแม่นางร้าย ในละครทีวี เพราะพวกนี้เป็นกลุ่มคนพิเศษ ที่อิจฉาได้โล่ห์จริงๆ )
  • ผมเชื่อว่า คนที่เห็นคนอื่นเด่น ดี ดัง แล้วเอามาเป็นต้นแบบ ทำให้ได้อย่างเขาบ้างหรือดีกว่า นั้นก็มีไม่น้อย ไม่งั้นโลกเราคงไม่มีการพัฒนาไปไหนได้ครับ

สรุป(แบบของผมเอง)

  • ความดี ทำเข้าไปเถอะครับ จะเด่น ไม่เด่น ไม่ต้องไปใส่ใจ
  • "อย่าทำดี เพียงเพราะว่าอยากเด่น และ อย่าทำเด่น โดยไม่สนใจความดี" ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น