วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สังกะสี..ขาดไม่ได้

ตอนเด็กๆ เวลาเรียนสุขศึกษา เมื่อคุณครูสอนเรื่องแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย พอถึงเรื่องของธาตุสังกะสีทีไร ผมก็นึกถึงเจ้าแผ่นสังกะสีเป็นลอนๆ ที่เขาเอาไว้ทำหลังคาทุกที ตอนนั้นคิดว่าจะกินเข้าไปยังไง

สังกะสี : Zinc

  • เป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุที่คนเราต้องการในปริมาณน้อย (Trace Minerals) แต่ขาดไม่ได้
  • ประมาณ 90%ของสังกะสีในร่างกายเราจะอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ ที่เหลือจะอยู่ที่ ตับ ตับอ่อน และในเลือด
  • สังกะสี ทำหน้าที่เป็นตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์เอนไซม์ในร่างกายที่มีมากกว่าร้อยชนิด ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้ เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิด ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา

ประโยชน์

  1. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคหวัด
  2. มีการศึกษาที่พบว่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีปริมาณของสังกะสี ต่ำกว่าคนปกติ ดังนั้นการได้รับสังกะสี ในปริมาณเพียงพอจึงช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  3. ช่วยคงสภาพการรับรู้รส กลิ่น ของผู้สูงอายุ
  4. ช่วยกระตุ้นให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
  5. มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์ม และฮอร์โมนเพศชาย
  6. ช่วยป้องกันผมร่วง เนื่องจากสังกะสีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของเส้นผม
  7. ช่วยลดอาการอักเสบของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ปริมาณความต้องการสังกะสี

ปริมาณสังกะสี ที่แนะนำให้กินในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)
  • อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ 35 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 110 ปี ปริมาณที่แนะนำ 10 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ 15 มิลลิกรัม/วัน
  • สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 2025 มิลลิกรัม/วัน
  • สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ 25 30 มิลลิกรัม/วัน

แหล่งของสังกะสี


  • ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ สังกะสี ขึ้นมาเอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารพวกเนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง นม อาหารทะเล และ ธัญพืช
  • หอยนางรม เป็นแหล่ง สังกะสี ที่ดีมาก เนื่องจากดูดซึมได้ง่ายกว่าพวกพืชผัก 

คนที่เสี่ยงต่อการขาดสังกะสี

  1. ผู้สูงอายุ พออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการดูดซึมสังกะสีของร่างกายเราก็จะลดลง
  2. หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีความต้องการสังกะสีมากขึ้นเป็นพิเศษ
  3. คนที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน 
  4. ผู้ที่มีภาวะติดเชื้อเรื้อรัง พิษสุราเรื้อรัง และตับแข็ง 
  5. คนที่เป็นโรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึม สังกะสี ไม่ดี (มักพบในเด็กเล็ก) 

อาการขาดสังกะสี

  1. เจริญเติบโตช้า ตัวเล็ก แคระแกรน 
  2. การรู้รสลดน้อยลง เบื่ออาหาร
  3. มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย 
  4. อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย
  5. ผมร่วง ผิวแห้ง เล็บเปราะ
  6. ผิวหนังอักเสบ บริเวณรอบปาก และอวัยวะเพศ ลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกจะผื่นแดง ต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง

อาการเมื่อได้รับสังกะสีเกิน

  1. มีผลให้ระดับทองแดงในเลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ
  2. ถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี เกินกว่า 2 กรัมขึ้นไป จะระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน ทำให้ปวดท้อง และอาเจียนได้

ส่งท้าย

  • ร่างกายต้องการสังกะสีเพียงเล็กน้อย(เมื่อเปรียบเทียบกับแร่ธาตุอื่น) แต่ห้ามขาด เพราะเป็นแร่ธาตุที่สำคัญยิ่งต่อกระบวนการทำงานทุกๆ ระบบของร่างกายครับ

หมายเหตุ 

  • ทุกเรื่องราวของ vcanfit ท่านสามารถแขร์ได้เลย ไม่มีหวง จะได้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้คนในวงกว้าง ครับ
  • สงสัยเรื่องอาหาร/สุขภาพ อยากได้คำตอบแบบสั้นๆ ง่ายๆ ที่อิงหลักวิชาการ ลองเข้า Google พิมพ์ vcanfit  เว้นวรรค แล้วพิมพ์ คำที่ต้องการหา (เป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้) จากนั้นกด ENTER ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น